กุ้ลิ สวรรค์บนดิน เมืองในภาพวาด
ตอนที่ 13 เขางวงช้าง

หน้านี้ ใจเย็นๆ มีรูปทรัมบ์เนล (รูปเล็กที่คลิกดูรูปใหญ่ได้) ตั้ง 77 รูป ท่านที่เล่นเน็ตความเร็วปกติที่บ้าน อ่านตัวหนังสือไปก่อน บางทีต้องรอรูปช้านิดหนึ่ง เราดูหมี ดูอูฐ แล้วก็มาดูช้าง เมืองจีน สัตว์เยอะ ก็เรามาดูธรรมชาตินี่นา ก่อนไปก็มาแวะทริปบังคับกันก่อน คือทริป "ยา" เราไปแวะ(ซะนาน) ที่ร้าน เป่าซู่ถัง สาขากุ้ยหลิน ที่ 18 Build 59 ถนน Longyin  เป็นบริษัทผลิตยาตามแบบแผนโบราณ ของราชวงศ์ ชิง (ประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา ราวๆ ปลายสมัยอยุธยา) โดยรัฐบาลจีน เข้ามาควบคุมคุณภาพและปริมาณ การกำหนดราคา และไม่มีขายตามท้องตลาด เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เนื่องจากกฎหมายของจีน การปลอมแปลงไม่ผิดกฎหมาย (เราถึงซื้อสินค้าแบรนด์ดังที่เลียนแบบได้ทั่วไป) ยาที่เลื่องชื่อที่คนไทยรู้จักดี คือบัวหิมะ เขาโฆษณาโดยการให้สาวๆ พูดไทยไม่ค่อยชัด มาบรรยาย เราก็ไปฟังกันอย่างครื้นเครง ดูสิ เหมือนดูทอล์คโชว์เลย (1-5) การโชว์อันน่าระทึกขวัญ (หมายเหตุ เรื่องนี้เป็นการเล่าถึงบรรยากาศการบรรยาย ผู้ปกครองควรพิจารณา) ก็เกิดขึ้น เมื่อผู้บรรยายสาว บอกว่า สรรพคุณของบัวหิมะที่เลื่องชื่ออย่างหนึ่งคือการรักษาแผลไฟใหม้ เธอให้เราดูมืออันขาวเนียนนุ่ม มาให้พวกเราจับ และมีสองสาว เผาโซ่จนร้อนแดง แล้วเธอก็กลับไปเวที ทำท่าทำใจสักพัก แล้วรูดโซ่ที่ร้อนแดง แล้วกรี๊ดจนน่ากลัว (รูปที่ 6 ขอบคุณฝีมือสุดยอดของพี่อุทัยที่จับภาพได้ทันควัน) ได้ยินคนข้างหน้าบอกว่า คงจะรูดยาวไปหน่อย กลิ่นมือไหม้เลย แล้วก็โชว์มือให้ดูรอย (ไม่ทันดู อิอิ สัก 2-3 วินาทีเอง) ผู้ช่วยทั้งสองรีบโปะๆๆ บัวหิมะ เธอเดินมาให้ดูการโปะยา (7) แล้วกลับมาเล่าสรรพคุณ บัวหิมะ หรือเป่าฟู่หลิง สรรพคุณหลักคือรักษาแผลไฟไหม้ ดูแลผิวพรรณ กระ ฝ้า กลาก เกลื้อน แมลงสัตว์กัดต่อย ฮ่องกงฟุต ริดสีดวงทวาร ฯลฯ สารพัดประโยชน์ขนาดนี้เลย? โหว เราก็ฟังไป หัวเราไปกับความเวอร์ของสรรพคุณ ราคา 130 กรัม 250 หยวน (แพ็คเกจใหม่ เดิม 100 กรัม) ซื้อเป็นโหล 230 หยวน (หยวนละ 4.72 บาท ราคาแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันที่ 18 มกราคม 2551 ที่พวกเราแลกกัน) พวกเราขนกันมาหลายสิบขวด (หรือว่า หลายร้อยขวดก็ไม่แน่ใจ หุหุ...) แล้วก็มีโฆษณาอีกหลายตัว เช่น กอเอี๊ยะ ดีหมี ยาบำรุงต่างๆ ผ่านไปสิบกว่านาทีก็เช็ดยาโปะออกมาให้พวกเราจับ ก็เป็นไปอย่างที่คาดไม่มีแผล แต่เธอบอกยังเจ็บอยู่ แต่รู้สึกเย็นลง ต้องทาต่ออีกหลายวันถึงจะหายปกติ

(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7)

จากนั้นมีแพทย์แผนจีน มาให้บริการตรวจร่างกาย โดยการ แมะ คือการจับชีพจรที่มือ แล้ววินิจฉัยโรคของผู้รับการตรวจ ไม่คิดเงิน มีหมอมาราว 6 ท่าน และมีล่ามช่วยแปล ทุกคนล้วนตกใจกับการมีโรคซ่อนเร้นที่ล้วนตรงกับที่รักษาอยู่แล้วในไทยกับหมอแผนปัจจุบัน (8-11) และได้รับการแนะนำให้ซื้อยา พันกว่าบาทถึง เป็นหมื่น ไม่เชื่อ ไม่ว่า แต่อย่าลบหลู่ (เกี่ยวกันไหม?) พี่ท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) หมอบอกเป็นโรคไตระยะสุดท้าย ถ้าไม่รักษาวันนี้ ก็ไม่ต้องมาอีก (!...) ถ้ารักษาวันนี้ต้อง 7,000 กว่าบาท (!!!) แต่ก็ซื้อ เพราะเป็นโรคไตอยู่แล้วจริงๆ ส่วนผมก็อยากรู้มั่งอ่ะ หมอก็เริ่มจับดูชีพจรซ้าย แล้วเกาหัว จับที่ศอกซ้าย ทำหน้านิ่ว ถามว่า ปวดเอวไหม ผมบอกไม่ปวด ท่านก็แมะที่ข้อมือขวาอีก ศอกขวาอีก แล้วบอกว่า ตอนนี้หนาว ไตอาจจะเย็นเล็กน้อยเป็นปกติ อย่าทานฟักก็แล้วกันช่วงนี้ อ่ะ คนต่อไป ยกมือไหว้ขอบคุณ หันไปดูคุณหมา ไกด์จีนที่แปลให้ คุณหมาก็งง บอกว่าไม่เคยมีใคร ไม่ต้องรับยา แต่ก็อธิบายว่า แสดงว่าแข็งแรงดี ไม่เป็นไร หมอก็ไม่ให้ยา ว๊าว ผมแข็งแรงขนาดนั้นเลยเหรอ?

  (8) (9) (10) (11)

เรามาดูเขางวงช้างกัน โอ้ว... ป้ายครับพี่น้อง (12) แชะ! โอเค เดินต่อ ผมกับพี่อุทัยก็ชอบป้าย (13-15) เอาซะหน่อย และที่ชาวบ้านไม่ค่อยเห็น คือดอกไม้ (16-17) ดอกนี้น่าจะชื่อ ลิ้นมังกร บ้านเราสูงท่วมหัว ชอบปลูกในรีสอร์ททางหนาวๆ นี่คงเป็นพันธ์เล็ก ดอกเยอะดี ผมชอบถ่ายดอกไม้ เวลาเราทำงานกับคอมพิวเตอร์ ใช้เป็นภาพเบื้องหลัง (Desktop Wallpaper) สวยมากเลย เห็นไหม มึนชอบดอกไม้และป้ายเหมือนผมแล้ว (19-20) หินสลักนี่ก็สวย (21) เขาเล่าเรื่องช้าง ซึ่งดูไม่ออกว่าเล่าว่าอย่างไร แต่มันเหมือนป้ายไงพี่น้อง เอ้า! แชะ! (22) โหว ไวมากพวกเรา แทบไม่ต้องบอก บังป้ายเกือบมิด แล้วค่อยเดินต่ออย่างสบายใจ (23)

 (12) (13) (14) (15) (16) (17) (18) (19) (20) (21) (22) (23)

ระหว่างทางผ่านคลอง ระบายน้ำทิ้งจากการบำบัดน้ำเสีย ที่เราจะไปดูงานกันพรุ่งนี้ ยังคมมีการเติมอากาศด้วยการล่าระดับน้ำด้วยก้อนหิน (24-26) น้ำที่ผ่านก้อนหินจะมีการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำ เพิ่มคุณภาพน้ำ เวลาเรามองลงไปในน้ำ จะเห็นสาหร่ายน้ำจืด (27) เจริญเติบโตได้ดีในคลองนี้ เป็ดดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำอย่างหนึ่งว่าน้ำคุณภาพดี เนื่องจากสาหร่ายต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสง หากน้ำไม่ใสพอ สาหร่ายจะตาย บรรยากาศบริเวณนี้ดูจีนๆ ดี (28) สถานีตรวจคุณภาพน้ำ (29) ยังออกแบบให้เป็นแบบเก๋งจีนเลย เราเดินข้ามลำน้ำเหมือนมาดูงานเลย (30-34) ผมได้ยินใครคนหนึ่งบอกว่า ดูสิ เสาหินแต่ละต้นนี่สลักจากหินอ่อนเชียวนะ และไม่ใช่ของโหลๆ นี่เป็นของเฉพาะเจาะจงกับที่นี่เพราะมีลายรูปงวงช้าง (35-37) แสดงว่าสำหรับเขางวงช้างจริงๆ ไม่เพียงแต่เสา ลวดลายระหว่างเสา ก็เป็นหินอ่อนสะลักสวยงาม ให้เข้ากับฟากโน้นที่เป็นเขางวงช้าง คุณหมาบอกว่าตรงลำตัวช้าง (38) เป็นที่เก็บเหล้ามาตั้งต่ราชวงศ์ ชิง (ราวอยุธยาตอนปลาย) จนเดี๋ยวนี้ ผมมไม่แน่ใจว่าตรงทางเข้าถ้ำ ที่เห็นเป็นทางเข้าไปคลังเหล้าหรือเปล่า

(24) (25) (26) (27)  (28) (29) (30) (31) (32) (33) (34) (35) (36) (37) (38)

ถึงเขางวงช้างแล้ว เราถ่ายรูปกัน หลายมุมรอบๆ (39-40) ทันทีที่เรารวมกลุ่มในพื้นที่หวงห้าม นักถ่ายรูปรับจ้างเจ้าถิ่นก็จะตะโกนบ้งเบ้งๆ พยายามจัดให้พวกเราเข้ากลุ่ม และหามุมสวยที่สุดให้ เราไม่สามารถถ่ายเองได้เหมาะ (41-42) ก็ยกเลิก ช่วงที่ไกด์หาที่เหมาะให้ถ่ายรูปหมู่ ก็ขอถ่ายไปก่อน (43-45) เขางวงช้าง นับว่าเป็นที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติกลางเมือกกุ้ยหลินเลย เป็นรูปเหมือนช้างกำลังดุดน้ำจากแม่น้ำหลีเจียง (47) เราเริ่มผลัดดันถ่ายรูป (48-49)

 (39) (40)(41) (42) (43) (44) (45) (46) (47) (48) (49)

ไกด์ตะโกนให้เราถ่ายรูปหมู่ได้แล้ว ขอไปถ่ายรูปก่อน ผมฝากไก้ด์ถ่ายให้ (50-52) เย้! มีรูปหมู่แล้ว เทคนิคคือต้องนำกล้องที่เปิดพร้อมถ่าย ให้ไกด์ช่วยถ่ายรูปหมู่ให้ เราจะได้มีภาพในกล้อง ขอบคุณครับ เอาล่ะ ต่อจากนี้ใครอยากถ่ายมุมไหน ผมอยากถ่ายมุมไหน และมุมไหนใครถ่ายรูปอยู่ ก็แอบถ่ายเขา เชิญทัศนาได้เลยครับ(53-74)

 (50) (51) (52) (53) (54) (55) (56) (57) (58) (49) (60) (61) (62) (63) (64) (65) (66) (67) (68)  (69) (70) (71) (72) (73) (74)

มีทางเข้าอีกทาง (75) ไม่ต้องเดินกลับไปทางเดิม เราเดินออกมาเจอป้าย ไม่รู้เขียนว่าไง ถ่ายก่อนแล้วกัน (76) ท่าทางพี่อุทัยมีความสุขมมาก ก่อนไปดูต่อ ให้ดูเขางวงช้างจากทางเข้าทางนี้อีกรูป (77) และนี่เป็นฟุตบาธ สำหรับเดินข้างถนน 4 เลน กว้างกว่าถนนเสียอีก พื้นปูด้วยหินแกรนิตด้วย สวยงามมาก

(75) (76) (77)


<หน้าก่อน|หน้าแรก|หน้าต่อไป >
ต้องการข้ามไปหน้าอื่น คลิกเลือกหน้า ี่สารบัญ ซ้ายมือ