อภัย

>> ไตรรงค์.เน็ต > กำลังใจ  ::

 ความโกรธแค้น ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย


เธอ ชื่อ ' คิม ฟุค '  (Kim Phuc is Her Name) แปลว่า 'ความสุขดุจทองคำ' (Golden Happiness)


1972napalmnow.jpg
เบื้องหน้าของ คิม ฟุค



เบื้องหลังของ คิม ฟุค


เบื้องหลังผ่าตัดแล้ว ๑๗ ครั้ง ขณะที่ลูกพี่ลูกน้อง ๒ คนตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว


เธอเกิดที่ Trang Bang ตะวันตกเฉียงเหนือกรุงไซ่ง่อนในเวียตนามใต้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖


เวลา บ่าย ๒ โมง วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๕ ระเบิดไฟนาปาล์ม ๔ ลูก ถูกทิ้งลงที่บ้านเธอ




ขณะนั้น คิม ฟุค มีอายุ ๙ ขวบ ระเบิดเพลิงตกใส่เธอ เธอถอดเสื้อผ้าที่ไฟกำลังลุกออกแต่ไฟยังคงไหม้บนตัวเธอ



ผู้คนช่วย ราดน้ำบนตัวเธอ เพื่อดับไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่บนตัวเธอ จนเธอหมดสติไป


Huynh Cong ( Nick ) Ut ช่างภาพ ช่วยพาเธอส่งโรงพยาบาล คอยให้กำลังใจ และจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ


ภาพของเธอ ที่ Nick Ut ถ่ายไว้ ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกและได้รับรางวัล Pulitzer ในปีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๕๑๖


ด้วยรางวัลดังกล่าวช่วยเปลี่ยนชีวิตของเธอและ Nick Ut แต่เธอต้องทนทุกข์ทรมานจากบาดแผล ไฟไหม้กว่าครึ่งตัว หมอศัลยกรรมพลาสติค Dr. Mark Gorney จาก San Francisco อาสาสมัครประจำอยู่ที่ โรงพยาบาลศัลยกรรมเด็ก Barksy ในกรุงไซ่ง่อนกล่าว ว่า 'เธอไม่น่าจะอยู่รอดได้ ตอนแรกคางของเธอเชื่อมติดกับหน้าอกโดยเนื้อเยื่อจากแผลเป็นแขนซ้ายของเธอไหม้จนถึงกระดูก' ด้วยความรักของแม่ที่คอยดูแลอยู่ข้างเตียง เธอค่อย ๆ ฟื้นตัวและตัดสินใจว่าโตขึ้น เธอจะเป็นหมอเหมือนผู้ที่ช่วยชีวิตเธอ หลังจากรักษาตัวอยู่ ๒ ปีเธอจึงได้กลับบ้านและเวียตนามใต้ ก็ถูกปกครองโดยคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ชื่อของกรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนเป็นโฮจิมินห์


๒๑ ปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๙
คิม ฟุค ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกัน ซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญให้มาพูด เนื่องในวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.


เธอได้มาเผชิญหน้ากับบุคคล ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ ทำให้ ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่าเธอให้ตายไปด้วยนั้น
ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจได้ง่ายแต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่า สงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง



คิม ฟุค เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้วเธอก็ได้เผยความใน ใจว่ามีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านของเธอ


พูดมาถึงตรงนี้ ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า คนที่เธอต้องการพบ กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ เธอจึงเผยความในใจ ออกมาว่า
'ฉันอยากบอกเขาว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ แต่เราควรพยายามทำสิ่งดีๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต'


เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวที อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอ เขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง


เขาพูด ด้วยสีหน้าเจ็บปวด ว่า
'ผมขอโทษ ผมขอโทษจริงๆ'



คิม เข้าไป โอบกอดเขา แล้วตอบว่า
'ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย'



ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเรา ปางตาย คิมฟุคเล่าว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมาน แก่เธอทั้งกายและทั้งใจ
จนเธอเอง ก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ได้อย่างไร


แต่แล้ว เธอก็พบว่า สิ่งที่ทำร้ายเธอจริงๆ มิใช่ใครที่ไหน หากได้แก่ความเกลียดชังที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง

'ฉันพบว่า การบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้ สามารถฆ่าฉันได้ '


เธอพยายามสวดมนต์ และแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอ

แล้วเธอก็พบว่า
'หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด'


เราไม่อาจควบคุมกำกับผู้คน ให้ทำดี หรือไม่ทำชั่วกับเราได้
แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเราได้


เราไม่อาจเลือกได้ว่า รอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารัก พูดจาอ่อนหวาน
แต่เราสามารถเลือกได้ว่า จะทำใจอย่างไร เมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา


คิมฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า
'ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตฉันก็ดีขึ้น'


บทเรียนของคิมฟุค คือ
ในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตเพื่อทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้


บทเรียนจากอดีตอย่างหนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มาก็คือ  การอยู่กับความโกรธ เกลียด และความขมขื่น นั้น  ทำให้เธอเห็นคุณค่าของการ ให้  อภัย.

ขอบคุณ เรื่องดีๆ ที่มาจาก  ร.แอน คนสวย PATCHAREE VEERANONTH <ann2015@hotmail.com>  เล่าให้คุณโดยไดรรงค์ ปิมปา

มอบกำลังใจให้คุณเสมอ จากใจไตรรงค์.เน็ต (c) Copyright 2010