าลโตนด

1 ลักษณะทั่วไป

            ต้นตาลโตนด  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Borassus  flabellifer  Linn.  มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า  Palmyra  Palm  หรือ Lontar  หรือ  Fan  Palm  ในประเทศไทยมีชื่อหลายชื่อคือในภาคกลางเรียกว่า  “ ต้นตาลโตนด ”  หรือเรียกสั้นๆ ว่า  “ ต้นตาล ”  ภาคใต้เรียกว่า  “ ตาลโตนด ”  หรือ  “ ต้นโหนด ”  ชาวจังหวัดยะลาหรือปัตตานีเรียกว่า  “ ปอเก๊าะตา ” 

            ตาลโตนดเป็นพืชตระกูลปาล์มใบพัดชนิดหนึ่ง  ชอบอากาศร้อน  ชอบขึ้นในดินทรายหรือดินปนทราย   และดินเหนียวแต่ในที่เปียกแฉะ  เช่น  ตามทุ่งนาตาลโตนดก็เจริญงอกงามดีในที่ดินทรายน้ำกร่อยขึ้นถึง  ก็จะยิ่งโตเร็วและมีน้ำหวานจัด  นอกจากนี้ยังชอบขึ้นในที่ไม่มีพืชปกคลุม  เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพค่อนข้างแห้งแล้งไม่ชอบดินกรดแต่ก็เจริญ เติบโตในที่ชุ่มชื้นได้

             ตาลโตนดเป็นพืชที่มีดอกแบบไม่สมบูรณ์เพศ  มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย  ต้นเพศผู้และต้นเพศเมียแยกคนละต้น  ดอกอยู่บนช่อดอกที่มีกิ่งก้านแขนงช่อดอกใหญ่ยาวแทงออกจากต้นระหว่างกาบใบ โค้งงอปลายค่อนข้างแหลมคล้ายงวงช้าง      เรียกว่า  “ งวงตาล ”  หรือ  “ ปลีตาล ”   ผลมีขนาดใหญ่เป็นทะลาย  ผลกลมมีขนาด  6-8  นิ้ว  ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน  ผลแก่มีสีม่วงแก่ผลสุกเต็มที่มีสีม่วงแก่เกือบดำหรือดำ  ผิวเป็นมันภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่แข็งประมาณ  1-4  เมล็ด  ส่วนใหญ่มี  3 เมล็ด   มีเปลือกหุ้มเป็นเส้นใยละเอียด  เมื่อสุกจะมีสีเหลืองสด  ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล    เนื้อนุ่มมีกลิ่นหอมใช้ปรุงแต่งสีและกลิ่นในขนมหวานและเค้กภายในเมล็ดมี เนื้อสีขาวขุ่น    เมล็ดแบนกลม 

            ตาลโตนดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออก  ต่อมาได้แพร่พันธุ์เข้าไปในอินเดีย  ศรีลังกา  และกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย  ปัจจุบันมีมากในแถบทวีปเอเชีย  อินเดีย  ศรีลังกา  พม่า  กัมพูชา  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และไทย  สำหรับประเทศไทยพบมากในพื้นที่เขตภาคกลางในแถบจังหวัดเพชรบุรี  สุพรรณบุรี  นครปฐม  และภาคใต้แถบจังหวัดสงขลา  เป็นต้น  

             ตาลโตนดเป็นพืชที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์    ตาลโตนดปัจจุบันเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกโดยธรรมชาตินับเป็นเวลาหลาย ล้านปีมาแล้ว  การคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์มีน้อยมาก  ตาลโตนดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ค่อนข้างแห้งแล้งไม่ชอบดินที่มี สภาพเป็นกรดโดยเฉพาะในที่ชุ่มชื้น

          

ลักษณะทางสรีรวิทยาและนิเวศวิทยาของตาลโตนด

           หลวงสมานวกิจ  (2477)  ได้บรรยายลักษณะทั่วไปของตาลโตนดไว้ว่าเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชอบขึ้นในพื้น ดินทรายและดินเหนียว  แต่ในที่เปียกแฉะเช่น  ตามทุ่งนาตาลโตนดก็เจริญงอกงามดี ในที่ดินทรายน้ำกร่อยขึ้นถึงจะยิ่งโตเร็ว  และมีน้ำหวานจัดชอบขึ้นมากที่ไม่มีพันธุ์ไม้ปกคลุม 

            ลำต้นตาลโตนดเป็นพืชลำต้นเดี่ยว (Single Stem)  เป็นพืชที่มีลำต้นจากพื้นดินเพียงต้นเดียวไม่มีหน่อ   ลำต้นมีขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  2 ½  ฟุต  ลำต้นตรงกลมผิวดำเกรียมเป็นเส้นแข็งเหนียว   ไม่หักง่ายเนื้อแข็งอยู่ภายนอกแล้วค่อย ๆ อ่อนเข้าสู่ภายในลำต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญภายในส่วนที่งอกเติบโตอยู่ภายใน ลำต้น

            ตาลโตนดเป็นพันธุ์ปาล์มที่มีลักษณะลำต้นสูงชะลูดลำต้นมีความสูงโดยปกติ  18 – 25  เมตร  (บางต้นอาจสูงถึง 30  เมตร)   ลำต้นตรงหรือโค้งเล็กน้อย    โคนต้นอวบใหญ่วัดโดยรอบได้ประมาณ  1  เมตร เมื่อวัดที่ความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ความสูงประมาณ 4  เมตร  ลำต้นจะเริ่มเรียวลงและวัดโดยรอบได้ประมาณ 40  เซนติเมตร  ที่ระยะความสูงประมาณ  10  เมตร   นับจากพื้นดินลำต้นจะเริ่มขยายออกใหม่จนวัดได้โดยรอบได้ประมาณ  50  เซนติเมตร   และคงขนาดนี้ไปจนถึงยอด    เปลือกลำต้นขรุขระและมีสีขี้เถ้าเป็นวงซ้อน ๆ กัน   ลำต้นจะมีใบที่บริเวณเกือบถึงยอด


            ใบลักษณะใบตาลโตนดว่ามีลักษณะยาวใหญ่   เป็นรูปพัด  (Flobellate หรือ Fan Leaf หรือ Palmate Leaf)  ใบจะมีใบย่อย  เรียกว่า  Segment ซึ่งจะแตกออกจากจุดๆ  เดียวกันที่ปลายก้านใบ ตามขอบทางจะมีหนามทู่สีดำติดอยู่

           ยอดตาลประกอบด้วย ใบตาลประมาณ  25 – 40  ใบ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุตาล    ใบมีสีเขียวเข้มเป็นรูปวงกลม  รัศมีประมาณ 4  เมตร  ถ้าตาลต้นใดไม่ได้ใช้ใบเป็นประโยชน์ปล่อยไปทิ้งไว้จนกระทั่งใบแก่มีสีน้ำตาล อ่อน และจะห้อยแนบลำต้น คลุมบริเวณคอตาลเป็นรัศมีครึ่งวงกลม  ความกว้างของใบวัดได้  50 – 70  เซนติเมตร  ใบแต่ละใบอายุไม่เกิน  3  ปี ตาลโตนดต้นหนึ่งๆ สามารถให้ใบตาลได้ 12 – 15 ใบ ต่อปี  ส่วนที่เป็นทางตาลบางทีอาจยาวถึง 2  เมตร ทางตาลนี้จะหนาโค้งตามความยาวมีหนามแหลมรอบทั้งสองด้าน ลักษณะเป็นฟันเลื่อยขนาดไม่สม่ำเสมอกัน   ตาลโตนดจะผลิตใบได้ 1 ใบ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

        รากตาลหาอาหารได้มากรากเป็นเสี้ยนกลมยาว เป็นกระจุกคล้ายมะพร้าวแต่หยั่งลึกลงไปในดินและไม่แผ่ไปตามผิวดินเหมือนราก มะพร้าว ฉะนั้นจึงไม่รบกวนต้นข้าว   เมื่อปลูกลงบนคันนา  รากของตาลโตนดสามารถหยั่งลงไปในดินได้ลึกมาก   จึงยึดกับดินได้ดี โอกาสที่จะโค่นล้มหรือถอนรากเป็นไปได้ยาก  จึงได้ปลูกเพื่อเป็นหลักในการแบ่งเขตของคันนาหรือเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ กับดินในบริเวณทำการทดน้ำเข้านา

        ดอกตาลโตนดเป็นพืชที่ต้นผู้กับต้นเมียแยกกัน   ช่อดอกของต้นผู้แตกแขนงออกเป็น   2 – 4  งวงต่อก้านช่อยาวงวงละประมาณ 30 – 40  เซนติเมตร   ในแต่ละงวงจะมีดอกเล็กๆ   ต้นผู้ต้นหนึ่งๆ จะมีช่อดอก 3 – 9  (ในเขตอำเภอสทิงพระส่วนใหญ่ออกช่อดอกในเดือน ธันวาคม)   ตัวเมียจะออกช่อดอกหลังตัวผู้เล็กน้อย   มีประมาณ 10 กว่าช่อขนาดเล็กและชุ่มหวานมากกว่า   ในแต่ละช่อจะมีดอกน้อยกว่าตัวผู้ (ประมาณ 10 ดอก ในช่อกลุ่มที่มีงวง 3 งวง)   ทั้งต้นผู้และต้นเมียจะทยอยออกช่อดอกเรื่อย ๆ แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ก็สามารถเก็บรองน้ำตาลได้ตลอดปี


        
ผลตาลโตนดจะให้ดอกให้ผลหลายครั้งจนกว่าจะแก่ตายไป ผลอ่อนมีสีเขียวติดอยู่บนทะลายคล้ายมะพร้าว    ผลแก่จัดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเป็นมัน      ผลโตขนาดเท่าผลส้มโอภายในเป็นเส้นละเอียดเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองแก่  เนื้อประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล ทะลายหนึ่งมีประมาณ     10 – 15  ผล  ผลหนึ่งจะมีเมล็ด 1 – 4   เมล็ด  อยู่ภายใน จะมีลักษณะแบนๆ ยาวประมาณ  3  นิ้ว กว้าง  2  นิ้ว และหนาประมาณ  ½  นิ้ว

ส่วนประกอบของผลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน   คือ

1. Exocarp  เป็นเปลือกชั้นนอก

2. Mesocarp  เป็นส่วนประกอบของเส้นใยสด

3. Endocarp  เป็นเปลือกหรือกะลาแข็งหุ้มเมล็ดไว้

การเพาะปลูก

       ตาลโตนดสืบพันธุ์จากเมล็ดอย่างเดียวทำได้โดยนำเมล็ดแก่ที่ตกอยู่ตามโคนต้นมา ฝังดิน  ลึกประมาณ 10  เซนติเมตรหลังจากนั้น 2 – 3  เดือนก็จะเริ่มงอกในระยะปีแรกๆ  การเจริญเติบโตของตาลโตนดจะเป็นไปอย่างช้า ๆ   โดยเฉลี่ยแล้วปีหนึ่งจะมีใบใหม่เพิ่มขึ้นเพียง 1 ใบเท่านั้น เมื่อตาลโตนดอายุ 5 – 6 ปี ลำต้นจะสูงเพียง 1  เมตร  หลังจากระยะนี้จะเป็นลำต้นยืดตัวสูงขึ้นปีละ 1  เมตร หลังจากระยะนี้จะเป็นลำต้นยืดตัวจะสูงขึ้นปีละ 30 เซนติเมตร  ดังนั้นตาลโตนดอายุ 10–15 ปี จะสูงเพียง 4–5  เมตร ถือว่าเป็นระยะเริ่มให้ดอก    ผลนักวิจัยเชื่อว่าตาลโตนดให้ผลครั้งแรกอายุ 15–20 ปี แต่ชาวบ้านเชื่อว่าตาลโตนดจะให้ผลครั้งแรก เมื่ออายุ 15 ปี บางที่ลดลงมาเหลือ 12 ปี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน

      การงอกเยื่อหุ้มเมล็ดหรือหน่อ (Opocolon) จะเจริญข้างล่างขณะที่ใบแรกของผลจะงอกออกมา  จากนั้นส่วนที่สะสมอาหารภายในเมล็ดก็จะถูกย่อยเป็นคาร์โบโฮเดรตอย่างง่าย  โดยส่วนที่สะสมอาหารของใบเลี้ยงและคาร์โบไฮเดรตก็จะถูกนำไปสร้าง Plunule และรากแขนงให้เจริญเติบโตขึ้น

      แมนโนเซลลูโลส (Mannocellulose) ของส่วนที่สะสมอาหารภายในเมล็ด จะมาจาก   การเปลี่ยนรูปของน้ำตาลกลูโคสโดยอาศัยน้ำตาลแมนโนสเข้าช่วยแต่การทดลองนี้ ได้กระทำระหว่างที่วิทยาการเกี่ยวกับแอนไซน์ไม่เจริญก้าวหน้า   จึงควรกระทำการยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคสมัยใหม่

      กีย์  เทรบุลย์ (2526) กล่าวว่าตาลโตนดเป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถปรับตัวได้กับสภาพอากาศ และภูมิอากาศแทบทุกชนิดแม้ในเขตละติจุดสูงๆ เราสามารถพบตาลโตนดเจริญอยู่   แม้จะเป็นจำนวนน้อยก็ตาม ในที่ๆมีปริมาณน้ำฝน 400 – 700 มิลลิเมตรต่อปี  หรือในเขตชุ่มชื้นมีระดับน้ำฝนมากกว่า 3,000 มิลลิเมตรต่อปี  ก็สามารถขึ้นได้  จึงไม่อาจสรุปได้ว่าอุณหภูมิระดับใดเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของตาลโตนด   อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไม้นี้เป็นพืชที่ชอบแสง จึงงอกงามไม่ดีในเขตที่ร่มหรือป่า         รากแขนงที่แตกกระจายหนาแน่น จะช่วยให้ตาลโตนดต้านลมได้ดี   ถ้ามีพายุใหญ่ลำต้นจะโค่นหักกลาง แต่ไม่ถึงกับถอนรากถอนโคน

       ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุการตายของตาลโตนด และกล่าวสนับสนุนว่าตาลโตนดตายเนื่องจากลำต้นของมันเองอย่างไรก็ตามยังไม่ ทราบลักษณะทางสรีรวิทยาของตาลโตนดที่เข้าสู่ระยะแก่  หรือเสื่อมสลายนั้นเป็นอย่างไร

      กีย์ เทรบุลย์ (2526) รายงานว่า  มีการใช้ลำต้นไปทำเครื่องใช้  เครื่องเรือน  การก่อสร้าง  เชื้อเพลิง  แป้งสาคู  กาว และใช้ทำที่เกาะของหอยนางรม   รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และตาลขโมย   ทางตาลใช้เป็นเส้นใยทำเชือก เครื่องจักสานและใช้ทำรั้วคอกสัตว์เชื้อเพลิง  ใบตาลใช้ทำเครื่องพัด จักสาน ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือเผาเป็นเถ้าใช้ในแปลงนาเนื่องจากมีธาตุโพแทสเซียมสูงช่อดอกใช้ผลิตน้ำ หวานนำมาทำเป็นน้ำผึ้ง  น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่น เครื่องดื่ม น้ำส้มสายชู  ผลอ่อนใช้ทำอาหารคาว   ผลแก่ใช้บริโภคสด เชื่อมบรรจุกระป๋อง  ผลแก่ส่วนเนื้อ (Mesocarp) มีสีเหลืองสดนำมาคั้นเอาเส้นใยออก  มีกลิ่นหอมใช้ปรุงขนมหวาน  เมล็ดใช้เฉพาะจาวตาลหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ตากแห้งทำเชื้อเพลิง  และเมื่อตาลโตนดมีอายุ 12 – 15 ปี สามารถเริ่มรองน้ำหวานมาทำน้ำตาลโตนดอาจเริ่มปาดตาลเมื่อมีดอกเป็นปีแรก  แต่จะได้น้ำหวานในปริมาณน้อยปริมาณความหวานอยู่ระหว่าง 9 – 16.5 เปอร์เซ็นต์     ตาลต้นหนึ่งรองน้ำหวานได้ติดต่อกันนาน 22 เดือน เป็นอย่างน้อย   และรองน้ำหวานได้ทุกปีติดต่อกัน 3 – 4 ช่วงอายุคนหรือประมาณ 80 ปี
 พันธุ์ตาลโตนด 
 พันธุ์ตาลโตนด  (สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ปี  2545 : 5-6)   ที่นิยมปลูกมี  3  พันธุ์ด้วยกันคือ
1. ตาลพันธุ์หม้อ   เป็นตาลที่มีลำต้นแข็งแรงถ้าดูจากลำต้นภายนอกไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นตาล พันธุ์อะไร  นอกจากต้นนั้นจะให้ผลแล้ว  ตาลหม้อเป็นตาลที่ให้ผลใหญ่ผิวดำเป็นมันเรียบแทบจะไม่มีสีอื่นปน  เวลาผลแก่มีรอยขีดตามแนวยาวของผลเปลือกหนาในผลจะมี  2-4  เมล็ด  ใน  1  ทะลายจะมีประมาณ  10-20  ผล  ส่วนใหญ่จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                   
ภาพตาลพันธุ์หม้อ

 2. ตาลพันธุ์ไข่   ลำต้นแข็งแรงลูกมีขนาดเล็กสีค่อนข้างเหลืองแบ่งออกเป็น  2  ชนิดด้วยกัน
            ไข่เล็ก  ผลค่อนข้างเล็กใน  1  ทะลายจะมีผล  20-30  ผล เนื่องจากผลเล็ก  จึงทำให้เต้ามีขนาดเล็กตามไปด้วย  จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ปีขึ้นไป
            ไข่ใหญ่  ผลมีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก  สีค่อนข้างเหลืองใน  1 ทะลายจะมีผล 10-20  ผล  เต้ามีขนาดใหญ่กว่าไข่เล็ก  1  ผล  จะมี  2-3  เต้า  จะให้ผลเมื่ออายุ  10  ปีขึ้นไป


ภาพตาลพันธุ์ไข่

            3.   ตาลพันธุ์ลูกผสม  ลำต้นตรงใหญ่แข็งแรง  ลูกค่อนข้างใหญ่เกือบเท่าตาลพันธุ์หม้อ   สีดำผสมน้ำตาล   (เหลืองดำ)   ในผลจะมี  2-3  เต้า  ให้ผลประมาณ 15-20  ผลต่อทะลายเป็นตาลที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี  ส่วนใหญ่จะไห้ผลเมื่ออายุ  15  ปีขึ้นไป     


ภาพตาลพันธุ์ลูกผสม

คุณค่าจากตาลโตนด

คุณค่าทางโภชนาการของลูกตาลอ่อน ต่อ 100 กรัม

                                                        

พลังงาน 47 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 9.0 กรัมตาล
โปรตีน 0.5 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 1.0 กรัม
น้ำ 88.5 กรัม
วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 2 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม

ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.[7]
 

คุณค่าทางโภชนาการของหน่อตาลอ่อน ต่อ 100 กรัม

                                                    

พลังงาน 103 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 26.6 กรัมลูกตาลโตนด
โปรตีน 2.7 กรัม
เส้นใย 2.2 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
น้ำ 69.5 กรัม
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.18 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 18 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 140 มิลลิกรัม

ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.[7]
สรรพคุณของตาล
จาวตาลมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้ (จาวตาล)[9]
ช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม
รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ (ราก)[6],[7]
กาบหรือก้านใบสดนำมาอังไฟบีบเอาแต่น้ำใช้อมรักษาอาการปากเปื่อยได้ (กาบใบ,ก้านใบสด)[1],[6]
ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ (รากต้มกับน้ำ)[7]
ใบนำมาคั่วให้เหลืองแล้วนำมาบดจนเป็นผง ใช้สูบหรือเป่า มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)[7]
ช่วยขับเลือด (รากต้มกับน้ำดื่ม)[7]
ช่วยแก้ตานขโมยในเด็ก (งวงตาลหรือช่อตาล,ราก)[3],[7]
กาบหรือก้านใบสดนำมาอังไฟแล้วบีบเอาน้ำมากินแก้อาการท้องเสีย ท้องร่วงได้ (กาบใบ,ก้านใบสด)[1],[6]
จะใช้รากที่งอกอยู่เหนือดินที่เรียกว่า “ตาลแขวน” ก็แก้พิษซางตานได้ดีเช่นกัน (ตาลแขวน)[7]
ใบตาล สรรพคุณช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายของสตรีหลังคลอดบุตร (ใบ)[7]
เปลือกตาลหรือส่วนที่เป็นกะลา มีการนำมาไปใช้เป็นส่วนประกอบของยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (เปลือกตาลหรือกะลา)[7] ส่วนช่อดอกตัวผู้ ยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมเพื่อต้มเป็นยาบำรุงกำลังอีกด้วย (ช่อดอกตัวผู้)[3]
ประโยชน์ของต้นตาล เนื่องจากต้นตาลมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงนิยมใช้ปลูกไว้กลางแจ้งไว้เป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว หรือปลูกไว้เดี่ยวๆ ปลูกตามชายทะเล หรือรมถนนหนทาง[1]

                                                          


ลำต้นของต้นตาล สามารถนำมาใช้ทำไม้กระดาน หรือใช้ทำเสา สร้างบ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดทนฝนและการเสียดสีได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และเฟอร์นิเจอร์สำหรับเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไม้เท้า ด้ามร่ม สาก กรอบรูป เชิงเทียน แก้วน้ำ ฯลฯ หรือใช้ในงานฝีมือที่มีราคาสูง ใช้ทำเรือขุด (เรืออีโปง) หรือจะนำลำต้นมาตัดขุดไส้กลางออกทำเป็นท่อระบายน้ำ

พื้นที่ทางการเกษตร สะพาน กลอง เสา เป็นต้น[3],[5],[7],[10]

                       


ประโยชน์ของเปลือกตาล หรือส่วนที่เป็น “กะลา” นิยมนำไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง เมื่อนำไปเข้าเตาเผาแล้วจะได้ถ่านสีดำที่มีคาร์บอนสูงเป็นพิเศษ และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน


ประโยชน์ของใบตาล ใบอ่อนนำมาใช้ในการจักสาน งานฝีมือ หรือทำเป็นของใช้และของเล่นสำหรับเด็ก โดยสานเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆ ส่วนใบแก่นำมาไปใช้ทำหลังคากันแดดกันฝน มุงหลังคา ทำเสื่อ สานตะกร้อ ตะกร้า สานกระเป๋า ทำหมวก ทำลิ้นปี่ ทำแว่นสำหรับทำน้ำตาลแวน ทำเชื้อเพลิง ฯลฯ หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้นๆ ก็สามารถนำมาใช้แทนช้อนเพื่อตัดขนมหรืออาหารได้ชั่วคราว และในประเทศอินเดียสมัยโบราณมีการนำมาใช้เพื่อจารึกตัวอักษรลงบนใบแทนการใช้กระดาษ หรือใช้ทำตาลปัตร (พัดยศ) ของพระสงฆ์ในอดีต[3],[4],[5],[7]

                                       


ประโยชน์ของทางตาล หรือส่วนของก้านใบตาล สามารถลอกผิวภายนอกส่วนที่อยู่ด้านบนที่เรียกว่า “หน้าตาล” มาฟั่นทำเป็นเชือกสำหรับผูกหรือล่ามวัว และมีความเหนียวที่ดีมากแม้จะไม่ทนทานเท่าเชือกที่ทำจากต้นปอหรือต้นเส็งก็ตาม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องมีการตากแดดตากฝน ส่วนทางตาลตอนโคน ที่อยู่ติดกับต้นตาลนั้นจะมีอยู่ 2 แฉก มีลักษณะบางและแบน หรือที่เรียกว่า “ขาตาล” สามารถนำมาตัดใช้เป็นคราดหรือไม้กวาด เพื่อใช้กอบสิ่งของที่เป็นกอง อย่างเช่น มูลวัว ขี้เถ้า เมล็ดข้าว เป็นต้น แต่หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบจะเรียกว่า “กาบตาล”[7],[10] นอกจากนี้ทาตาลยังสามารถนำใช้ทำเป็นคอกสัตว์ รั้วบ้าน ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง หรือใช้ในงานหัตถกรรมจักสานหรืองานฝีมือ เช่น การทำเป็นกระเป๋า หมวก ฯลฯ

                                                         


ประโยชน์ของลูกตาลโตนด ผลสามารถนำมารับประทานหรือใช้ทำเป็นขนมได้ได้ (ผลเมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม) สามารถทำเป็น “ลูกตาลลอยแก้ว” หัวลูกตาลอ่อน นำมาต้มให้สุกใช้รับประทานกับน้ำพริกได้ หรือนำมาต้มกับน้ำปลาร้าที่เรียกว่า “ต้มปลาร้าหัวตาล” ส่วนผลลูกตาลสุกจะใช้เนื้อเยื่อสีเหลืองที่หุ้มเมล็ดนำมาทำเป็นขนมที่เรียกวา “ขนมตาล” ส่วนเมล็ดทิ้งไว้จนรากงอก หากทิ้งไว้พอสมควรจะมีเนื้อเยื่อข้างใน สามารถนำมาเชื่อมทำเป็นขนมหรือที่เรียกว่า “ลูกตาลเชื่อม” นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมหวาน จาวตาลเชื่อม ลูกตาลลอยแก้ว เป็นต้น[1],[3],[4],[8] ผลอ่อน หน่ออ่อน สามารถนำมาใประกอบอาหาร ประเภท ผัด ต้ม แกง ได้[8]

                                                                                         

                                                                          

 

ประโยชน์ของตาลโตนด เปลือกหุ้มผลอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น อาหารจำพวกยำ แกงเลียง ฯลฯ ส่วนเปลือกหุ้มผลตาลจากแห้งใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ หรือจะคั้นเอาแต่น้ำของผลแก่ใช้ปรุงเพื่อแต่งกลิ่นขนม นอกจากนี้ผลตาลแก่ยังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว ได้อีกด้วย[3]


หากเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แล้วนำมาหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ จะได้หัวตาลอ่อน ที่นำไปใช้ปรุงเป็น “แกงคั่วหัวตาล”[7]

                                                              

                                                        


ประโยชน์ของจาวตาล นิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ด้วยการนำมาทำเป็น “จาวตาลเชื่อม” หรือที่นิยมเรียกว่า “ลูกตาลเชื่อม“[7] มีทั้งการเชื่อมเปียก (จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล) และการเชื่อมแห้ง (จาวตาลจะมีเกร็ดน้ำตาลจับแข็ง สามารถเก็บไว้ได้นาน)[3] หรือจะนำจาวตาลเชื่อมน้ำตาลโตนดชุบแป้งทอด เป็นของกินเล่นที่เรียกว่า “โตนดทอด“[9]

                                                                         


ประโยชน์ของเมล็ดตาล สามารถนำมาใช้รับประทานสด หรือใช้ทำเป็นขนมเป็นของหวาน หรือนำไปใส่ในแกงส้มหรือแกงเหลือง[5] ส่วนเมล็ดตาลสุก เมื่อนำไปล้างทำความสะอาดแล้วนำไปตากให้แห้ง จะมีลักษณะเป็นฟูฝอยสวยงามคล้ายกับขนสัตว์ จึงนิยมนำไปใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิง ด้วยการใช้หวีเพื่อจัดรูปทรงได้หลายแบบ คล้ายกับเป็นช่างทำผม นอกจากนี้ยังนำมาใช้เผาถ่านได้อีกด้วย[3]
สำหรับลูกตาลอ่อน เราจะนำส่วนที่ติดขั้วจุกและใจกลางของลูกมาใช้ทำเป็นอาหาร หรือใช้รับประทานแทนผัก[3]
ประโยชน์ของงวงตาล (ช่อดอก) ใช้น้ำหวานที่ได้จากการปาดและนวด นำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มและน้ำตาล[4] หรือทำเป็นน้ำตาลสด น้ำตาลเมา น้ำตาลแว่น[5] น้ำตาลโตนด[7] นอกจากนี้ยังมีการใช้ช่อดอกตัวผู้นำมาตากแห้งทำเป็นเชื้อเพลิง และนำมาใช้กินต่างหมาก[3] ต้นตาลทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ยังไม่แก่เต็มที่จะให้น้ำตาลที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำตาลก้อนหรือน้ำตาลปี๊บ[3]