บัวหลวง
|
|
|
|
การปลูกและการดูแลรักษา
การทำนาบัวสามารถจำแนกตามการใช้ประโยชน์เช่น
1. เพื่อตัดดอก นิยมปลูกในเขตปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี สุพรรณบุรี
2. เพื่อเก็บเมล็ด นิยมปลูกในจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสรรค์ พิจิตร พิษณุโลก
3. เพื่อเก็บไหล นิยมปลูกในจังหวัดปราจีนบุรี
การขยายพันธุ์
การแยกเหง้า วิธีนี้เหมาะสำหรับบัวในเขตร้อนคือบัวหลวง จะสร้างไหลจากเหง้า ( ราก ) ของต้นแม่แล้วงอกไปเป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์โดยการตัดเหง้า ให้มีความยาวประมาณ 2-3 ข้อ มีตาประมาณ 3 ตา ต้นอ่อนจะขึ้นจากตา และเจริญเป็นต้นใหม่ |
|
การเก็บรักษาเหง้า โดยนำมาวางรวมกัน รดน้ำให้โชกปิดด้วยใบตองหรือผ้าที่ชุบน้ำให้เปียก เพื่อรักษาความชื้นอย่าให้แห้ง ( พันธุ์บัว 1 เหง้าควรจะต้องมีตา 3 ตา กรณีที่มีตาไม่ถึง 3 ตา สามารถนำมามัดรวมกันแล้วนับให้ได้ 3 ตา ซึ่งเกษตรกรจะเรียก 1 กำ หรือ 1 จับ ) |
การเตรียมดิน
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกบัวมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. พื้นที่ราบสม่ำเสมอ
2. ดินเป็นดินเหนียว มีธาตุอาหารพวกโปแตสเซียมสูง สำหรับพื้นที่ดินร่วนหรือร่วนบนทรายสามารถปลูกได้ แต่ได้ผลผลิตไม่ดี เพราะจะมีการเจริญเติบโตของใบมากกว่าดอก
3. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการนำน้ำเข้าไปใช้ในนาบัว
การเตรียมพื้นที่
สำหรับทำนาบัวจะคล้ายๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ สูงประมาณ 1.5 เมตร เก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมดปรับพื้นที่ให้เรียบ ไถดะโรยปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งพร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณ 200 กิโลกรัม จากนั้นระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นดินประมาณ 15 ซม . ทิ้งไว้ 3-5 วัน ให้ดินตกตะกอนและอ่อนตัว แล้วจึงนำไหลบัวมาปักดำระยะปลูกที่เหมาะสมคือระยะระหว่างต้น 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล
การปลูกบัว
วิธีการปักดำมี 2 วิธีการคือ
1. ใช้ตะเกียบหรือใช้ไม้คีบ วิธีการนี้จะใช้ไม้ไผ่เหลาให้หนากว่าตอกเล็กน้อย ยาวประมาณ 50 ซม . แล้วนำมาพับครึ่งคีบตรงบริเวณข้อบัวที่เตรียมไว้อย่าให้บัวช้ำแล้วปักไม้ลง ในดินให้ระดับไหลอยู่สูงกว่าระดับผิวดินประมาณ 4 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้บัวเน่า และเหลือใบให้ลอยน้ำ 1 ใบ
2. ใช้ดินหมก วิธีนี้ใช้กับนาบัวที่สามารถบังคับระดับน้ำได้โดยการปล่อยน้ำออกจากนาบัว ซึ่งดินจะอ่อนตัวเหมาะกับการใช้เสียม หรือใช้มือคุ้ยดินให้เป็นหลุมลึก 7-10 ซม . นำไหลบัวใส่หลุมแล้วนำดินกลบไหลบัวโดยเว้นบริเวณตา หรือบริเวณส่วนยอดไว้เพื่อให้บัวแตกใบ หลังจากปักดำเสร็จ ปล่อยน้ำเข้าให้ท่วมพื้นที่นาบัวหลังจากปักดำแล้ว 15 วัน ถ้าบัวไม่แตกใบใหม่ควรทำการปักดำซ่อม
การให้น้ำ
|
ในช่วงเดือนแรกต้องรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในนาบัว ประมาณ 30 ซม . ถ้าระดับน้ำสูงกว่าที่กำหนด ใบบัวที่แตกใหม่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำจะโผล่ได้ช้า เป็นสาเหตุให้บัวตาย หลังจากนั้นเมื่อบัวเจริญเติบโตสูงขึ้น ปล่อยน้ำเข้าแปลงให้มีความลึกประมาณ 50 ซม . แต่ไม่ควรเกิน 100 ซม . เพราะความลึกระดับนี้บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะทำให้บัวสามารถออกดอกได้มาก |
การให้ปุ๋ย
เมื่อบัวเจริญเติบโตและตั้งตัวได้หรือแตกใบใหม่แล้ว ให้เริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหวานให้ทั่วแปลง ในกรณีที่นาบัวเป็นที่มีน้ำไหลตลอดเวลาควบคุมระดับน้ำไม่ได้ให้ใส่ปุ๋ยแบบ ปุ๋ยลูกกลอน โดยนำปุ๋ยจำนวน 1 ช้อนกาแฟ บรรจุใส่ดินเหนียวแล้วปั้นดินห่อหุ้มปุ๋ยให้เป็นก้อนกลมแล้วผึ่งลมให้แห้งนำ ไปฝังไว้รอบๆโคนต้นบัวประมาณ 2-3 ลูก การใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปให้พิจารณาสภาพบัวที่ปลูกอยู่ หากบัวโทรม ดอกบัวมีสีจืด หรือมีขนาดดอกเล็กลง สามารถให้ปุ๋ยได้
ศัตรูพืช
1. เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ ไรแดง และเพลี้ยอ่อน
จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทำให้ใบหยิกงอ สั้นลง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน หรือโพรพาไกต์ (สำหรับกำจัดไร)
ฉีดพ่นทุก 15 วัน หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
2. หนอนชอนใบ หนอนกินใบ
จะกัดกินใบจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้มักจะระบาดในฤดูแล้ง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน
3. หนอนผีเสื้อ หนอนกอ เป็นศัตรูที่สำคัญและระบาดได้ ตลอดปี เกิดจากผีเสื้อกลางคืนวางไข่ เมื่อฟักแล้วหนอนจะกัดกินใบบัวทำให้ฉีกขาด การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน ฉีดพ่นหรือหว่านลงในแปลง อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
4. หนู จะกัดกินเมล็ด ใบและฝักบัว การป้องกันกำจัดใช้สารเบื่อหนู และกำจัดพืชรอบๆแปลงที่เป็นที่อยู่อาศัยของหนู
5. หอย เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์และโทษ ประโยชน์คือช่วยบอกคุณภาพของน้ำว่าน้ำในบ่อมีสภาพดีหรือเสียถ้าหอยลอยอยู่บน ผิวน้ำ เกาะบริเวณขอบบ่อ แสดงว่าน้ำเริ่มเสีย ควรรีบเปลี่ยนน้ำทิ้ง โทษคือถ้ามีในปริมาณมากหอยจะเกาะก้านบัวดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบอ่อนเจริญไม่ พ่นน้ำ กำจัดทิ้งโดยใช้ไม้ไผ่แช่น้ำทิ้งไว้ ยกขึ้นเก็บหอย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
โรค
โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp . เป็นโรคที่ไม่รุนแรงสำหรับบัว ป้องกันกำจัดโดยการตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง
โรครากเน่า มีลักษณะอาการ ต้นบัวจะแคระแกรน ลักษณะคล้ายขาดอาหาร ป้องกันกำจัดโดยถอนบัวขึ้นมาตัดเหง้าที่เน่าทิ้ง แล้วปลูกใหม่
การเก็บเกี่ยวดอกบัว
การตัดดอก ดอกบัวที่จะตัดขายได้ขนาดตามความต้องของตลาดนั้น ควรมีอายุหลังจากปลูกแล้ว 2 เดือน การเก็บดอกจะเก็บในตอนเช้าและควรเก็บดอกบัวในระยะที่ดอกยังตูมอยู่ โดยตัดให้ห่างก้านดอกยาว 40- 50 ซม . จากนั้นนำมาคัดขนาดแล้วจัดเป็นกำ ( กำละ 10 ดอก ) การจัดต้องจัดเรียงให้เห็นดอกทั้ง 10 ดอก หลังจากนั้นจึงห่อด้วยใบบัว แล้วมัดเป็นกำ ดอกบัวสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3 เดือน โดยช่วงที่บัวมีผลผลิตมาก ( เดือนที่ 3-4 หลังจากปลูก ) จะเก็บทุกวัน หรือวันเว้นวัน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะเก็บวันเว้น 2 วัน
หลังจากเก็บ เกี่ยวดอกเป็นเวลา 3-4 เดือน ต้นบัวจะเริ่มโทรมให้ปริมาณดอกบัวลดลง เกษตรกรจะบังคับให้ไหลแตกต้นใหม่ โดยระบายน้ำออกจากนาให้แห้งแล้วนำรถแทรคเตอร์ลงไปไถดะ เพื่อลดความหนาแน่นของต้นบัวหรืออาจใช้ลูกขลุกทุบบัว แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง บัวจะแตกยอดใหม่และเริ่มเก็บดอกได้ในเวลา 2-3 เดือน
อุปโภค
ฝักแก่เคลือบสี
|
บุหงาบัวในห่อสวยงาม
|
บุหงาบัว
|
น้ำมันนวดกลิ่นบัว
|
ใบบัวย้อมสี
|
กระดาษเส้นใยบัว
|
ดอกบัวอบแห้ง
|
พานบายสี
|
ตกแต่งอาหาร
|
กระทงดอกบัว
|
บริโภค
น้ำเกสรบัว
|
น้ำดอกบัว
|
ไวน์ดอกบัว
|
รากบัวในน้ำเกลือ
|
ไหลบัวดอง
|
เมล็ดบัว
|
เมล็ดบัวเชื่อม
|
ชาดอกบัว
|
ดีบัว
|
ชาดีบัว
|
น้ำเมล็ดดอกบัว
|
ซีเรียลแป้งไหลบัว
|
ขนมอบจากบัว
|
ไหลบัว
|
ไหลบัวเชื่อม
|
เมี่ยงดอกบัว
|