ข้าวโพด

 

      ข้าวโพด เป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรง แข็งแรง สูงประมาณ 1.5 เมตร เนื้อภายในลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำใบจะเป็นเส้นตรงปลาย
แหลม  ยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ   ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอก
ตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น    ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบใบและลำต้น    ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว
เมื่อแก่เป็นสีเหลืองนวล

          คนไทยเริ่มรู้จักนำข้าวโพดหลังสงครามโลกครั้งที่ 1   โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลอง
ใช้เลี้ยงสัตว์                ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย  จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2        การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ   ได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาสาธิตและกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตาม      ผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม
แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก    การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็น เพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก  ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่
แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และเริ่มแพร่หลายไปเรื่อยๆ     จนกระทั่งปัจจุบันประเทศไทยปลูกข้าวโพดในปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก
เพื่อรองรับการอุปโภค บริโภค นำไปเลี้ยงสัตว์  ผลิตเครื่องสำงอางค์ ที่นับวันก็จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากข้าวโพดมากยิ่งขึ้น

          เราสามารถจำแนกข้าวโพดตามพฤกษศาสตร์  โดยนำลักษณะของแป้งและเปลือกหุ้มเมล็ดเป็นหลัก แบ่งได้ 7 ชนิด คือ

          - ข้าวโพดหัวบุบ (dent corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส  อินเดนทาทา (Zea  mays  indentata)  เมล็ดส่วนบนมีรอยบุ๋ม  เนื่องจากมี
แป้งอ่อนและส่วนข้าง   เป็นแป้งชนิดแข็ง  เมื่อตากเมล็ดให้แห้ง  แป้งอ่อนจะยุบหดตัวลง    จึงเกิดลักษณะหัวบุบดังกล่าว ขนาดของลำต้น ความสูง
เหมือนข้าวโพดไร่ทั่วๆ ไป สีของเมล็ดอาจเป็นสีขาว สีเหลือง หรือสีอื่นๆ แล้วแต่พันธุ์ ข้าวโพดชนิดนี้นิยมปลูกกันมากในสหรัฐอเมริกา


ข้าวโพดหัวบุบ

          - ข้าวโพดหัวแข็ง (flint corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อินดูราทา (Zea  mays indurata)    เมล็ดมีแป้งแข็งห่อหุ้มโดยรอบ หัวเรียบ
ไม่บุบ  เมล็ดค่อนข้างกลม มีปลูกกันมากในเอเชียและอเมริกาใต้  ข้าวโพดไร่ของไทยที่นิยมปลูกกันอยู่เป็นชนิดนี้ทั้งสิ้น  สีของเมล็ดอาจเป็นสีขาว
สีเหลือง สีม่วง หรือสีอื่นแล้วแต่ชนิดของพันธุ์


ข้าวโพดหัวแข็ง

          - ข้าวโพดหวาน (sweet corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส  แซคคาราทา (Zea mays saccharata)     นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ใช้
รับประทานฝักสด เพราะฝักมีน้ำตาลมาก ทำให้มีรสหวาน เมื่อแก่เต็มที่หรือแห้งเมล็ดจะหดตัวเหี่ยวย่น เนื่องจากน้ำตาลไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแป้งได้


ข้าวโพดหวาน

          - ข้าวโพดคั่ว (pop  corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อีเวอร์ทา (Zea mays everta) เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก  มีแป้งประเภทแข็งอยู่
ภายใน   ภายนอกห่อหุ้มด้วยเยื่อที่เหนียวและยืดตัวได้ เมล็ดมีความชื้นภายในอยู่พอสมควร    เมื่อถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในเมล็ดระเบิดตัว
ออกมา  เมล็ดอาจมีลักษณะกลมหรือหัวแหลมก็ได้ มีสีต่างๆ กัน เช่น เหลือง ขาว ม่วง


ข้าวโพดคั่ว

          - ข้าวโพดแป้ง (flour corn)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส อะมิโลเซีย (Zea  mays  amylocea)     เมล็ดประกอบด้วยแป้งชนิดอ่อนมาก
เมล็ดค่อนข้างกลม  หัวไม่บุบ  หรือบุบเล็กน้อย  นิยมปลูกในอเมริกาใต้  อเมริกากลาง และสหรัฐอเมริกา  ชาวอินเดียนแดงนิยมปลูกไว้รับประทาน
เป็นอาหาร


ข้าวโพดแป้ง

          - ข้าวโพดป่า  (pod corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส ทูนิกา (Zea mays tunica)   มีลักษณะใกล้เคียงข้าวโพดพันธุ์ป่า มีลำต้นและฝัก
เล็กกว่าข้าวโพดธรรมดา    ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็กเท่าๆ    กับเมล็ดข้าวโพด  มีขั้วเปลือกหุ้มทุกเมล็ด     และยังมีเปลือกหุ้มฝักอีกชั้นหนึ่ง  เหมือน
ข้าวโพดธรรมดาทั่วๆ ไป เมล็ดมีลักษณะต่างๆ กัน  ข้าวโพดชนิดนี้ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น 


ข้าวโพดป่า

          - ข้าวโพดข้าวเหนียว (waxy corn)     มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซี เมย์ส เซอราทินา (Zea mays ceratina)         เมล็ดมีแป้งอ่อนคล้ายแป้ง
มันสำปะหลัง    นิยมปลูกเพื่อรับประทานฝักสดคล้ายข้าวโพดหวาน     แม้จะไม่หวานมาก แต่เมล็ดนิ่ม รสอร่อย ไม่ติดฟัน  เมล็ดมีสีต่างๆ  กัน เช่น 
เหลือง ขาว ส้ม ม่วง หรือมีหลายสีในฝักเดียวกัน


ข้าวโพดข้าวเหนียว

ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง

          ข้าว โพดข้าวเหนียวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมกับผู้บริโภคในขณะนี้ คือ ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ตามท้องตลาด   หลายท่านคงเคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว   แต่อาจจะสงสัยอยู่ว่าข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงนี้มาจากไหน   และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลมานำเสนอ ดังนี้     พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง  เป็นการพัฒนาจากพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงและพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวของ
บริษัทเอกชน ผลผลิตที่ได้ทำให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว

          สารสีม่วง
          สำหรับสีม่วงเข้มในเมล็ดข้าวโพดนั้น เป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับสูง ช่วยลดโอกาสในการ
เกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมความคุ้มกันให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค สมานแผล   เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันใน
หลอดเลือด ลดภาวะการเป็นโรคหัวใจ ชะลอความเสื่อมของดวงตา  ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอความแก่

          การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง
          สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง  ควรให้ความสำคัญกับดิน เพื่อให้ได้จำนวนต้นต่อไร่ และผลผลิตต่อไร่สูง เริ่มจาก
การไถดะและตากดินไว้ 3 - 5 วัน  แล้วจึงใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตันต่อไร่      เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดิน  ให้สามารถอุ้มน้ำได้นานและเพิ่ม
ธาตุอาหารให้กับข้าวโพด  จากนั้นไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกละเอียดเหมาะกับการงอกของเมล็ด

          เกษตรกรสามารถปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงได้ 2 วิธี   คือ ปลูกแบบแถวเดี่ยว   โดยเว้นระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะห่าง
ระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร  ปลูกหลุมละ 1 ต้น  หรือ ปลูกแบบแถวคู่     ต้องยกร่องสูง โดยมีระยะห่างระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร    ปลูกเป็น
2 แถวข้างร่อง ห่างกัน 30 เมตร และมีระยะห่างระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร  ปลูกหลุมละ 1 ต้น    ทั้ง 2 วิธีจะได้จำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500
ต้นต่อไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อไร่   เมื่อปลูกได้ 7 วัน ข้าวโพดอยู่ในระยะกำลังงอก   ควรระมัดระวังเรื่องการให้น้ำ เพราะหาก
ขาดน้ำในระยะนี้จะทำให้การงอกไม่ดี   จำนวนต้นต่อพื้นที่จะน้อยลง ส่งผลต่อจำนวนผลผลิต      และอีกระยะหนึ่งที่ขาดน้ำไม่ได้คือระยะออกดอก
เพราะจะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์    การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงส่วนปลาย หรือติดเป็นบางส่วน  ฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ ใน 2 ระยะนี้ควร
ให้น้ำถี่กว่าช่วงอื่นๆ ที่ตามปกติแล้วจะให้น้ำทุก 3-5 วัน  ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ

          เมื่อ ข้าวโพดมีอายุ 40 - 45 วันหลังปลูก   ถ้ามีอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยด้านข้าง
ต้นข้าวโพด ในขณะที่ดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม  เพื่อเป็นการบำรุงให้ต้นข้าวโพดสมบูรณ์  แข็งแรงโดยปกติแล้วเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อ
มีอายุประมาณ 60-70 วันหลังปลูก    แต่ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50% (หมายถึงข้าวโพด 100
ต้น ออกไหม 50 ต้น) แต่หากปลูกในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวก็จะยืดออกไปอีก

          สำหรับ วิธีการดูแลรักษา หากแปลงปลูกมีวัชพืชขึ้นมาก จะส่งผลให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก โดยใช้
อลาคลอร์ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูก  ก่อนที่วัชพืชจะงอก   ควรฉีดพ่นในขณะที่ดินต้องมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น   สำหรับช่วงที่ฝน
ตกชุก ต้นข้าวโพดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคราน้ำค้างได้ง่าย ควรใช้สารเคมีป้องกันโรคราน้ำค้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

          การ นึ่งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงให้อร่อย เริ่มจากเตรียมหม้อนึ่ง ต้มน้ำให้เดือด ระหว่างนี้ปอกเปลือกหุ้มฝักออก  โดยปอกให้เหลือเปลือกหุ้ม
ฝักประมาณ 2-3 ชั้น   เพื่อเป็นการรักษาสารแอนโทไซยานินให้อยู่ในเมล็ด ทำให้เมล็ดเต่งตึงน่ารับประทาน  จากนั้นนำฝักข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง
ที่ปอกแล้ววางเรียงลงในหม้อนึ่งที่น้ำเดือดแล้ว ปิดฝา ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 25-30 นาที  ควรปล่อยให้ฝักข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่ต้ม เย็นลง
ในระดับอุ่นๆ ก่อนรับประทาน  จะทำให้สีม่วงไม่ติดมือเวลารับประทาน รวมถึงรสชาติและคุณค่าทางอาหารยังคงเดิม

          การ เลือกที่จะปลูกหรือขายข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง   เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น อาจจะเรียกได้ว่า “กำลังอยู่ในกระแส”
โดยเฉพาะในผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่ชอบความแปลกใหม่    เนื่องจากรูปลักษณ์ที่ดึงดูดความสนใจแล้ว ด้วยรสชาติที่ความหวาน หอม เหนียวนุ่มของ
ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงยังทำให้หลายคนติดอกติดใจ   พร้อมทั้งคุณประโยชน์อันหลากหลายที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นข้าวโพดเป็น ธัญพืชที่นิยม
นำมาแปรรูปเป็นอาหารนานาชนิด  เนื่องจากเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง ในเมล็ดข้าวโพด 100 กรัมนั้น     ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน
11.1 กรัม เกลือแร่ 1.7 กรัม ไขมัน 4.9 กรัม และเส้นไยหยาบอีก 2.1 กรัม และยังมีวิตามินที่มีประโยชน์อีกมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอในรูป
เบต้าแคโรทีน   วิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์  รวมถึงลูทีนและซีแซนทิน    ซึ่งเป็นสารคาโรตีนอยด์ ช่วยป้องกัน
ตาเสื่อมสภาพ