การวิ่งออกกำลังกาย ทำให้เข่าเสื่อมจริงหรือ

 

 

มีคำพูดหนึ่งในนวนิยายจีนโบราณของนักเเต่ง โก้วเล้ง ที่ว่า จริงคือเท็จ เท็จคือจริงที่ผมคิดว่า เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาเปิดประเด็น ตอนต้น ในหัวข้อที่เราจะพูดถึงในวันนี้ครับ 

ในสมัยก่อน เมื่อมีการเก็บบันทึกสาเหตุการตายของประชากรในไทย พบว่า โรคหัวใจนั้น มาเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งที่ความจริงอาจจะไม่ใช่สาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตจริงๆ หรอกครับ เพราะอะไรหรือครับ รู้เเล้วอย่าแปลกใจนะครับ เหตุผลที่ทำให้โรคหัวใจเป็นผู้ร้ายอันดับหนึ่งในสมัยนั้น ก็เพราะคุณหมอนี่เเหละครับ เป็นตัวต้นเหตุ เพราะเมื่อมีผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล อาจจะจากโรคบางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจเลย เช่น โรคหอบหืด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ หมอจะ 
บันทึกลงไปในช่อง สาเหตุการตายว่า เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ทำงาน นักสถิติที่รวบรวมไม่ได้ดูสาเหตุที่เเท้จริงว่า ทำไมหัวใจดวงน้อยๆ ถึงไม่ยอมเต้น ก็ตกใจว่า คนไทยตายจากโรคหัวใจกันมาก ผลก็คือทำให้ผู้คนในสมัยนั้นกลัวโรคนี้ขึ้นสมอง พยายามหาหนทางเเก้ไขเเละป้องกันกันอย่างเต็มที่ครับ มีการออกข่าวคึกโครม ถึงวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้หลีกห่างจากโรคนี้มากมาย 

หนึ่งในนั้น คือการบริหารเเบบเเอโรบิค โดยการวิ่ง วัตถุประสงค์ การออกกำลังกายชนิดนี้ คือการกระตุ้นให้ 
หัวใจเต้นเร็วขึ้น 80% ของความสามารถที่หัวใจคนนั้นจะเต้นได้ ให้เต้นอยู่อย่างนี้นาน ประมาณ 15-20 นาที 
นัยว่าสามารถลดปริมาณไขมันตัวร้าย พวก คลอเรสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ เเละเพิ่มปริมาณไขมันตัวดี เอช 
คลอเรสเตอรอล ลดโอกาสการอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจ 

ปรากฎว่า มีการโหมโรง โฆกษณาชวนเชื่อ ให้คนไทยวิ่งกันอย่างมากมาย ทุกวัน เเต่กลับพบว่า คนที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป     ไปพบเเพทย์ด้วยอาการที่ไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจมากขึ้นครับ นั่นคือ อาการปวดเข่า เข่าบวม มีข้อเข่าเสื่อมผุพังมากขึ้นอย่าน่าตกใจ 

มีการศึกษาวิจัย ว่าการวิ่งทำให้ข้อเข่า เสื่อมมากขึ้นจริงหรือไม่ของมหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1993 โดยการเฝ้าดู นักวิ่ง 35 คน ติดต่อกัน 5 ปี โดยมีการตรวจสอบ เอ็กเรย์กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง เเละข้อเข่าทุก ทุกปี ปรากฎว่า อัตราการเป็นข้อเสื่อมไม่ได้เเตกต่างจากคนทั่วไป หมายความว่า นักวิ่งกลุ่มนี้ การวิ่งไม่ได้ทำให้เป็นข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น เเละมากขึ้นครับ 

อ้าว...... เเล้วคนไทยในสมัยนั้น ที่ไปวิ่งกันมากมาก ทำไมถึงปวด เข่า เเละเป็นเข่าเสื่อมมากขึ้นละครับ มีเเพทย์หลาย หลายคนพยายามหาสาเหตุที่เเท้จริง จนกระทั่งพบว่า มีปัจจัยที่เเตกต่างระหว่างคนไทย กับคนต่างประเทศ เเละยังเป็นต้นเหตุที่เเท้จริงที่ทำให้นักวิ่งไทยเป็นข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น คือ กล้ามเนื้อของคนไทยไม่เเข็งเเรงครับ 

คนต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป หรือ อเมริกา จะเป็นนักออกกำลังกาย นักเล่นกีฬาอย่าง ต่อเนื่อง ไม่ใช่เพิ่งมาออกกำลังกายตอนมีเวลาว่าง หรือมาออกกำลังกายเมื่อวัยเกษียน การออกกำลังกายอย่าง 
สม่ำเสมอ ทำให้กล้ามเนื้อทั่วไป โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่หลังเเละต้นขา เเข็งเเรง ไม่มีสภาพการถดถอยของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อรับเเรงเเละผ่อนเเรง กดจากน้ำหนักตัวได้อย่างสมดุล เมื่อเวลาคนเราหยุดออกกำลังกายนานๆ เช่น คนหนุ่มสาวของบ้านเรา ที่เมื่อจบจากการศึกษา ออกมาทำงาน มักจะไม่มีวลาในการออกกำลังกาย เล่นกีฬา อย่างต่อเนื่อง จะมีภาวะอย่างหนึ่งค่อยๆ เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของคนคนนั้น คือ ขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อจะลีบลง ลีบลง จน กล้ามเนื้อบางจุด เช่น หลัง เเละขาจะสู้ หรือทนน้ำหนักตัวที่ต้องมีการออกเเรงในชีวิตประจำวันไม่ไหว ผลก็คือ จะมีการอักเสบสะสมเล็กๆ น้อย ต่อเนื่องภายในกล้ามเนื้อ 

เมื่อมีข่าวเเว่วมา ว่า การวิ่งทำให้เป็นโรคหัวใจน้อยลง คนไทยเราก็เฮโลไปวิ่งในสวนกันใหญ่ โดยไม่เคยมีการตรวจสอบก่อนว่า กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าเเข็งเเรงหรือไม่ พอจะทนน้ำหนักตัวเราขณะทีวิ่งได้หรือไม่ การวิ่งนานๆ ที่ 
ไม่มีกล้ามเนื้อที่เเข็งเเรงคอยปกป้อง คอยผ่อนเเรงกระเเทกซ้ำๆ ที่ผิวข้อเข่า จึงทำให้ข้อเข่าเกิดอักเสบ เกิดการเสื่อมเเละผุพังเร็วขึ้นครับ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุเข้าสู่วัยกลางคน กระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณผิวข้ออยู่ในสภาพที่ถดถอยอยู่แล้ว รายไหนรายนั้นครับ พอเริ่มต้นวิ่งไปซัก 3-4 วันก็จะมีอาการ บวม ปวดที่ เข่าขึ้นมา 

เห็นมั้ยครับว่า กล้ามเนื้อรอบเข่าของเราสำคัญต่อกระดูกมากเเค่ไหน ผมจะมาบอกวิธีการตรวจสอบกล้ามเนื้อรอบหัวเข่า ว่าเเข็งเเรงหรือไม่ ในคราวหน้าครับ 

สบายกาย คลายปวดเข่าครับ 

 

 

 กลับเมนูบทความ

                                                                                                                    ที่มา : นพ.สมศักดิ์ เหล่าวัฒนา 
                                                                                                                             ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

                                                                                                                    ภาพประกอบ: www.google.co.th