กุ้ลิ สวรรค์บนดิน เมืองในภาพวาด
ตอนที่ 23
ซื่อไว่เถาหยวน

เราเดินทางเข้าหมู่บ้าน ด้วยเรือไฟฟ้า เสียงเงียบมาก ภาพแรกที่เจอคือสะพานศิลปะแบบของเผ่าจ้วง ด้านข้าง ชื่อสะพานแห่งลมและสายฝน มุมต่างๆ (1-2-3) เราลงเรือมาตามแม่น้ำหลี่ (หลีเจียง) (4-5-6) ทิวทัศน์ข้างหน้า เป็นภูเขาหินปูนสวยงาม และข้างๆ เป็นอาคารขายของที่ระลึก ที่เราจะกลับเข้ามาเยี่ยมขามา ตอนนี้ข้ามไปก่อน ไปดูการแสดงวัฒนธรรมถาวร โดยมีบางเรื่อง จำลองมาจากตำนานเพิ่มจากชีวิตปกติ สาวจ้วงในชุดสดใส (7) พร้อมกันออกมาเต้น รำ พร้อมอุปกรณ์ เช่น พัด หรือผ้า และหนุ่มๆ ก็เล่นดนตรีกันรื่นเริงทุกครั้งที่เรือใกล้เข้ามา  และหยุดพัก เพื่อเรือห่างออกไป จะเห็นลูกช่วง จำลอง ขนาดใหญ่ แขวนไว้ที่ชายคา สัญลักษณ์สำคัญของเผ่าจ้วง เรือแล่นผ่านสองข้างทางที่มีต้นหลิวลู่ลม หลายต้นทิ้งใบรับหน้าแล้งในฤดูหนาวเกือบหมดต้น ได้บรรยากาศที่ดูหนาวเหน็บ (8-9-10-11) แม้จะติดแม่น้ำ และน้ำเพียงพอ เขาก็ทิ้งใบตามฤดูกาลอยู่ดี สังเกตุไฟส่องสว่างข้างทาง (11)  ก็พยายามทำให้เข้ากับบรรยากาศคล้ายธรรมชาติ

 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11)

มาดูบรรยากาศบ้านเรือน(12-13-14-15-16)  มีบ้านสมัยใหม่เกิดขึ้นหลายหลัง แต่ทางการรณรงค์ให้คงความเป็นศิลปะจีน ในอำเภอหยางชั่ว อาคารสร้างใหม่ จะขอความร่วมมือให้ใช้การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา หรืออาคารเก่า เมื่อเปลี่ยนหลังคา ให้ใช้หลังคาแบบนี้ เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์ของหยางชั่ว บ้านเกือบทุกหลังในหยางชั่วจึงมีหลังคาแบบกระเบื้องซ้อนกัน บ้านเรือนเหล่านี้ เขาอยู่เป็นปกติ โดยไม่มีการแสดง และเราก็ไม่ได้รับอนุญาตให้รบกวนการดำเนินชีวิตเขา อ้าวนั่นเห็นไหม (17) ซักผ้าแบบโบราณ คุณหมาบอกว่านี่ไม่ใช่การแสดง เป็นวิถีชีวิตปกติของเขา จะใช่ไม้ตี ซักผ้า ไกด์บอกว่ากลางวันใช้ซักผ้า กลางคืนใช้ทุบหัวสามีขี้เมากลับดึก อันเดียวกัน ประหยัดดี หุหุ

(12) (13) (14) (15) (16) (17)

อันที่จริงตามตำนาน จะมีป่าดอกท้อก่อนเข้าถ้า มีแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำหลี่ (หลี่เจียง เจียงแปลว่าแม่น้ำ คุณหมาบอกที่ถูกต้องพูดว่าแม่น้ำหลี่) เป็นถ้ำที่คับแคบ น้ำไหลผ่าน แต่ก็กว้างพอที่เรือจะผ่านได้ และหินชนขอบเรือไปตลอดทาง สักพักก็ออกปากถ้ำ (18) ก็พบสวนดอกท้อสีชมพู ก้บเรือใบสีแดง(19) เสียดายเป็นช่วงขับเรือเร็ว ถ่ายดอกท้อไม่ทัน มันเบรอๆ เลยดูห่างๆ ไปก่อน  และอีกมุมของสวนดอกท้อ (20) จากนั้นล่องเรือไปตามคลองเล็กๆ ผ่านหมู่บ้านของเผ่าอ้วนดำ (21) มีกะโหลก พวกควาย ก่อนเข้าหมู่บ้าน มีคนมาทักทายด้วยการเอาหอกมาแยงๆ เรียกเสียกรีดกร๊าดได้จากผู้ชมมาก ยังมีการเกษตรกรรมเหมือนครั้งหลายร้อยปีก่อน (22) ตรงหน้าหมู่บ้าน มีเวทีแสดงการเต้น (23) อย่างสุดเหวี่ยง ลักษณะเด่นของเผ่านี้คือ ขาว ผอม แต่เรียกว่า เผ่าอ้วนดำเพราะถ้าใครอ้วน และดำ จะเป็นที่มีเสน่ห์ แต่หาคนอ้วนดำไม่ได้เพราะเป็นเผ่าที่ ไม่ใส่เสื้อ หนาวแค่ไหนก็ไม่ใส่ ตอนนี้ประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส พวกเรายังใส่เสื้อกันเฉลี่ย ประมาณ 5 ตัว

 (18) (19) (20) (21) (22) (23)

เราเยี่ยมชมเผ่าอ้วนดำแค่นี้ ภูเขาสวย (24) ทำให้ผู้คนทั่วไปอิจฉา สวยงามดังภาพวาด น้ำใส(25) จนมีสาหร่ายเจริญเติบโตได้ เนื่องจากแสงแดดส่องถึง นี่เป็นภาพ หน้าแล้ง (26) ยังคงความชุ่มชื้นด้วยความสมบูรณ์ของน้ำ และสิ่งแวดล้อม ผ่านป้อมยามหมู่บ้านออกมา (27) มีคนที่รับหน้าที่เป็น เหมือน รปภ. คอยตรวจตรา และยังส่งแขกด้วยหอกด้วย ช่วงนี้เป็นช่วงต่อหมู่บ้าน (28)  ไก้ด์บอกว่า เรามาถึงประตูเข้าหมู่บ้าน เรียกว่า ประตูมังกร มีต้นไม้ดัดให้เป็นรูมังกรเหินหาว (29-30) ไหนๆๆ เราชะเง้อดูกันจนเรือเอียง ไกด์บอกถ่ายรูปไปดู จะเห็นเอง เห็นไหมท่านผู้ชม ผมก็เห็นตอนดูรูปนี่แหละ ตอนถ่ายก็ไม่เห็น เราไม่ขึ้นจากเรือ มองหมู่บ้านทางน้ำก็แล้วกัน  ไก้ด์บอกว่า ภูเขาจะสวย ต้องมีเงาสะท้อนจากน้ำ  ก็เห็นด้วยครับ นอกจากสวยดี ยังไม่ต้องรบกวนกิจกรรมปกติของชาวบ้านด้วย (ไม่ต้องชอปปิ้ง อิอิ) เราเลยเห็นการทำพืชผักสวนครัว (32-33-34-35-36-37) ผักหลักๆ ของที่นี่ยอดนิยมคือ ผักกาด กวางตุ้ง เขาจะสงวนชายฝั่งส่วนใหญ่ไม่ให้ตั้งบ้านเรือนริมน้ำ ทำให้มีการอนุรักษ์ชายฝั่งได้ดีหลายอย่าง ป้องกันน้ำท่วมได้ เพราะน้ำไหลดี มีแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ มีแหล่งอาหารทางน้ำตลอดไม่ขาดแคลน บ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ที่นี่ ก็คือหลังคาแบบหยางชั่ว แม้จะสร้างบ้านให้ทันสมัย มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น แต่หลังคากระเบื้องดิน ยังเป็นที่นิยมแกมบังคับ  เนื่องจาก นโยบายทำเมืองเป็นแหล่งท่องเที่ยว

(24) (25) (26) (27) (28) (29) (30) (31) (32) (33) (34) (35) (36) (37)

เราผ่าน หมู่บ้านชนกลุ่มน้อยของเมืองลับแลในตำนาน (38) ผ่านสะพานมังกร(39-40-41) อายุนับพันปี (แปลว่า สมัยสุโขทัยหรือก่อนนั้น) แต่ถูกซ่อมแล้วซ่อมอีกแทบไม่เห็นหินเดิมแล้ว จำได้ไหมครับ คล้ายสะพานดอกไม้ในสวนเจ็ดดาว  มีช่องให้เรือลอด เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง เวลาดูผ่านสายน้ำก็จะเป็นเหมือน พระจันทร์ 3 ดวง แม้ว่าตามตำนาน หมู่บ้านอายุนับพันปี น้ำยังใสสะอาด มีสาหร่ายน้ำจืด (42) อยู่ตามท้องน้ำ และเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง เช่นหมู ของหมู่บ้าน ผมถามว่าแล้วคนกินได้ไหม ไกด์บอกว่าน่าจะกินได้ แต่ไม่เห็นใครเอามากิน คงไม่อร่อยมั้ง แต่คงไม่มีอันตราย เพราะให้สัตว์กินได้ เราผ่านหมู่บ้าน(43-44-45-4647-48-49-50-51-52) ที่สวยในธรรมชาติภูเขาสวยสลับซับซ้อนดังภาพวาด น้ำใสสะอาด ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นที่น่าอิจฉาของคนจีนทั่วไป สวนส้มโอ (49) ที่วางขายทั่วอำเภอ ส้มโอแบบลูกโตๆ สีหลืองอร่าม แต่ไกด์บอกไม่แนะนำให้ซื้อ ไม่อร่อยเหมือนของเมืองไทย  เนื่องจากเป็นส้มโอแบบกินเปลือก นำเปลือกไปแกง หรือทำขนมพวกจันอับ (ขนมไหว้เจ้า เชื่อมด้วยน้ำตาลหวานๆ เข้มข้นจนน้ำตาลขึ้นแป้ง บ้านเราส่วนใหญ่ทำจากฟักเขียว)

(38) (39) (40) (41) (42)  (43) (44) (45) (46) (47) (48) (49) (50) (51) (52)

เส้นทางวนย้อนกลับมาอีกทาง ให้ดูบรรยากาศต้นหลิวแห้ง หน้าแล้งดูเงียบเหงา อากาศแห้ง ถึงแม้พื้นดินไม่แล้ง สังเกตยังมีการปลูกผักกาดกวางตุ้ง ถั่วลันเตา และส้มโอกินเปลือก เขียวชอุ่มอยู่เสมอ (53-54-55-56-57-58-59-60-61-62-63-64)

 (53) (54) (55) (56) (57) (58) (59) (60) (61) (62) (63) (64)

ถึง เก๋งจีน (65-66-67-68-69) และอาคารสำนักงาน (70-71-72-73-74-75) แสดงว่ากลับมาจุดเดิมแล้ว เรามักเห็นเก๋งจีน ในภาพวาดบ่อยๆ นิยมใช้ล้อมวง ร่ำสุรา ชมเขา ดูสายน้ำ ให้บรรยากาศผ่อนคลายยามเลิกจากงานตอนเย็นสักพักหนึ่ง ประมาณนั้น  เรามาจอดท่าเรือ เพื่อชมหมู่บ้านจำลอง (แปลว่าที่ชอปปิ้ง) กล่นลงเรือ ผมหันหลังไปหาคนขับเรือ ซึ่งไม่พูดอะไรเลยมาตั้งแต่ขึ้นเรือ และไม่ยิ้มด้วย คงทำไปตามหน้าที่ ผมลงเรือคนสุดท้าย เพื่อจะได้หันไปยิ้ม และโค้งขอบคุณ บอก เซียะเซียะหนี่ ก็เลยได้เห็นรอยยิ้มอย่างปลื้มใจของพี่คนขับเรือท่านนี้(79) วันหลังผมไปใช้บริการอะไร ต้องยิ้มให้บ่อยๆ ครับ คนไทย เมืองยิ้มอยู่แล้ว รู้สึกว่าเขาจะดีใจ และสดชื่นขึ้นทันตา เอาล่ะ ขึ้นจากเรือเลยครับ ไปดื่มเหล้ากันสักจอก

 (65) (66) (67) (68) (69) (70) (71) (72) (73) (74) (75) (76)


<หน้าก่อน|หน้าแรก|หน้าต่อไป >
ต้องการข้ามไปหน้าอื่น คลิกไปเลือกหน้า ที่สารบัญซ้ายมือ หรือกลับไปเลือกหน้าแรก