ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย และหลักการแพทย์จีนโบราณ
ยึดถือแนวคิดที่ว่าในร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ
- ธาตุดิน เป็นส่วนประกอบของอวัยวะที่เป็นของแข็ง
เช่นกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น
- ธาตุน้ำ เป็นส่วนประกอบของเหลว เช่น เลือด น้ำเหลือง
ไขกระดูก
- ธาตุลม เป็นกระบวนการทำงาน
ขับเคลื่อนสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย
- ธาตุไฟ เป็นพลังงาน การเผาผลาญอาหาร
และยังมีพลังตรงข้ามกัน เช่น พลังเย็น (หยิน) พลังร้อน (หยาง)
อยู่ในตัว
สุขภาพของเรา
เกิดจากการทำงานอย่างประสานกันกลมกลืนของธาตุทั้งสี่ สมดุลหยางหยิน
ในร่างกายของเรา
สภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ที่เปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
และอาหารที่เรารับประทาน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง และปรับสมดุลของพลังหยางหยิน
ธาตุทั้ง 4 และอุณหภูมิในร่างกายของเรา เช่น
- ในฤดูร้อน อากาศร้อน
ความร้อนทำให้อุณหภูมิร่างกายเราสูงขึ้น หลอดเลือดขยายตัว
อัตราการไหลเวียนของโลหิตสูงขึ้น ร่างกายเสียเหงื่อ ผักฤทธิ์เย็น
ซึ่งมีน้ำมาก กากน้อย ช่วยชดความร้อน และปรับสมดุลในร่างกาย
- ฤดูฝน อากาศค่อนข้างเย็น แต่ความชื้นสูง
ร่างกายระบายความร้อนไม่ดี ระบบย่อยอาหารทำงานน้อยลง ทำให้เบื่ออาหาร
ผักฤทธิ์เผ็ด ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยขับเหงื่อ
และเพิ่มความอยากอาหาร
- ฤดูหนาว อากาศเย็นและแห้ง เพราะความชื้นลดลง
ทำให้ร่างกายลดการระบายความร้อน อุณหภูมิในร่างกายลดลง
ผักฤทธิ์ร้อนจะกระตุ้นระบบย่อยและเพิ่มการเผาผลาญอาหาร
ช่วยรักษาความอบอุ่นในร่างกาย
การเลือกผัดเพื่อบริโภคให้เหมาะสมมรแต่ละช่วงตลอดปี
จะเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยดูแลร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุลอันหมายถึงการมีสุขภาพที่ดีตลอดปีเช่นกัน
ผักประจำเดือนต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสวนครัวที่มีความเหมาะสมต่อการบริโภค
โดยคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่มีผลต่อสุภาพของสมาชิกในครอบครัว
ในแต่ละช่วงตลอดปี ท่านที่จะปลูกพืชผักสวนครัวรับประทานเอง
ก็ต้องคำนึงถึงวันเวลาเพาะปลูก เพื่อให้ได้พืชผลไว้รับประทานตรงเดือนพอดี
เลือกดูที่ หน้าสารบัญ
เพื่อดูพืชผักที่เหมาะสม