หน้าแรก

เตรียมตัวเป็น "แม่" คน

พัฒนาการของทารกในครรภ์

ระหว่างตั้งครรภ์

การคลอด

หลังคลอดและเรื่องของนมแม่

กุสุมา  แกล้วทนงค์  เรียบเรียง

พัฒนาการของทารกในครรภ์

       พัฒนาการของทารกในครรภ์ จะบ่งบอกลำดับขั้นตอนของการกำเนิดชีวิตน้อยๆ และเพื่อให้พ่อแม่ในฐานะผู้ให้ชีวิตตระหนักถึงความรับผิดชอบ ต่อชีวิตที่ตนเองสร้างขึ้น และสร้างความพร้อมในฐานะเตรียมพร้อมเป็นแม่และพ่อ

วันแรกถึงสัปดาห์ที่ 4
ลูก        ตัวอ่อนจะงอมาหน้า จนส่วนหัวและหางจรดกัน มีตา หู และจมูกเกิดขึ้น ตัวยาวประมาณ 1 ซม.
แม่
       ช่วง 3 สัปดาห์แรกที่ตั้งครรภ์ ร่างกายภายนอกอาจจะยังไม่ค่อยเห็นความผิดปกติ แต่ที่ชัดเจนคือ ประจำเดือนขาด ไม่มาตามปกติ
ข้อห้าม  ผู้เป็นแม่เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ต้องงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 5-8
ลูก        ตัวจะยาว 4 ซม. รูปทรงศีรษะชัดเจนมากขึ้น แขนและขายังสั้นอยู่ ระยะปลายเดือนที่ 2 นี้ ศีรษะจะโตขึ้นมาก เนื่องจากมีมันสมองมากขึ้น จมูก ปก และหูยังไม่โต แต่ส่วนแขนและขาจะเจริญมากขึ้น และเริ่มมีอวัยวะสืบพันธุ์
แม่       ช่วงนี้จะรู้สึกเจ็บและตึงบริเวณเต้านม เริ่มมีอาการแพ้ท้อง คลื่นเหียนอาเจียน และปัสสาวะบ่อยๆ อารมณ์ของแม่ช่วงนี้จะไม่ค่อยแจ่มใสนัก
ข้อห้าม   ระยะนี้ควรงดออกกำลังกายอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเบาหรือหนัก และข้อสำคัญ ควรไปฝากครรภ์ ให้แพทย์ได้ตรวจเป็นระยะๆ

สัปดาห์ที่ 9-10
ลูก        ตัวจะยาว 7-9 ซม. ลักษณะมือและเท้าจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนและมีเล็บเกิดขึ้น อวัยวะสืบพันธุ์จะแสดงลักษณะของเพศได้ชัดเจน และหัวจะโตมากขึ้น
แม่       ช่วงนี้จะยังมีอาการแพ้อยู่ และน้ำหนักจะเริ่มเพิ่มขึ้น รูปร่างจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อารมณ์ของแม่จะแจ่มใสขึ้น
ข้อแนะนำ  ผู้เป็นแม่ควรทำจิตใจให้แจ่มใส หาที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เช่น เดินชมดอกไม้ ชมธรรมชาติ เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับอากาศสดชื่นไปด้วย

สัปดาห์ที่ 11-16
ลูก        ตัวจะยาวประมาณ 17 ซม. และน้ำหนัก 120 กรัม ลักษณะอวัยวะทุกส่วนและอวัยวะเพศจะชัดเจนขึ้น เริ่มมีขนอ่อน ผิวหนังแดง และจะดิ้นจนรู้สึกได้
แม่       น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น ร่างกายเริ่มปรับสภาพได้ อาการแพ้และหน้ามืดวิงเวียนจะหายไป ตื่นขึ้นมาอารมณ์ก็จะแจ่มใสมากขึ้น
ข้อแนะนำ  ควรไปพบแพทย์ที่ฝากครรภ์ตามนัดหมาย เพื่อให้แพทย์ได้วางโปรแกรมปฏิบัติก่อนถึงวันคลอด

สัปดาห์ที่ 17-20
ลูก        มีไขปกคลุมมากขึ้น ผิวหนังใสเหมือนเดิม มีผมขึ้นทั่วศีรษะ ตัวยาวประมาณ 18-27 ซม.
แม่       รูปร่างแสดงให้เห็นว่ามีครรภ์ชัดเจนขึ้น น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7 กิโลกรัม
ข้อแนะนำ  ผู้เป็นแม่จะเริ่มรับประทานอาหารได้มากขึ้น เพราะทารกเริ่มกินอาหารจากนก สุขภาพจิตของแม่จะดี ควรพักผ่อนโดยฟังเพลงเบาๆ บ้าง

สัปดาห์ที่ 21-24
ลูก        มีขนอ่อนทั่วตัว มีขนตาและขนคิ้ว ผิวหนังมีรอยย่น รูปร่างดีขึ้น ตัวยาวประมาณ 28-34 ซม. และดิ้นได้
แม่       น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม ทรวงอกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น หัวนมจะดำ
ข้อแนะนำ  คุณแม่ควรมีการฝึกทักษะต่างๆ เกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ ฝึกการหายใจเข้าและออกในแบบต่างๆ เพราะหากคุณแม่ทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ในเวลาคลอดจริง กล้ามเนื้อจะได้ทำงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

สัปดาห์ที่ 25-28
ลูก        ผิวหนังปกคลุมด้วยไข่โดยทั่ว ลำตัวจะยาวประมาณ 35-38 ซม. ในเพศชาย อัณฑะจะเลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะแล้ว ค่อยๆ มีการเคลื่อนไหวของแขนขา ช่วงนี้ต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิด
แม่       ยามว่างๆ คุณแม่ควรเตรียมเก็บของ เครื่องมือ เครื่องใช้ เสื้อผ้าที่จำเป็น และของใช้ของลูก เพื่อเตรียมตัวเข้าโรงพยาบาล 
ข้อแนะนำ  คุณแม่ควรจะเริ่มนอนตะแคงได้แล้ว เพราะท้องขยายใหญ่ขึ้น
ข้อห้าม  คุณแม่ที่ทำงานออฟฟิศ และติดชา กาแฟ ต้องงดให้หมด เพราะจะเป็นตัวเสริม ตัวเร่งให้คลอดก่อนกำหนด และควรงดการเดินทางไกล

สัปดาห์ที่ 29-32
ลูก        ตัวยาวประมาณ 40 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 2,000 กรัม ผิวหนังจะแดงและเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ ทั้งยังสามารถเคลื่อนไหวไปรอบๆ ได
แม่       น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีก จนทำให้ก้นและขาอ่อนขยายออก ผู้เป็นแม่จะรู้สึกว่าตัวใหญ่ยักษ์ ทำอะไรก็งุ่มง่าม ขี้ลืมง่าย
ข้อแนะนำ  คุณแม่ควรลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เนื่องจากสรอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มน้ำหนักให้คุณแม่ (เกินความจำเป็น) ควรจะปรับเปลี่ยนการกินใหม่ โดยเน้นอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา นม ปลาตัวเล็กๆ ผัก และผลไม้ เพื่อเตรียมสะสมไว้เป็นน้ำนมให้กับลูกน้อย

สัปดาห์ที่ 33-36
ลูก        ทารกอยู่ในครรภ์ครบ 9 เดือน จะมีน้ำหนักประมาณ 2,500 กรัม มีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น มีร่างกายอ้วนขึ้น ผิวหนังที่ย่นกลับตึง มีเล็บยาว เรียกว่ามีรูปร่างเกือบสมบูรณ์แล้ว
แม่       น้ำหนักจะค่อนข้างคงที่ แต่ทารกยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้คุณแม่มีอาการหรือความรู้สึกว่า เจ้าตัวน้อยของคุณแม่เคลื่อนตัวลงมาอยู่ต่ำบริเวณหัวหน่าว (ตรงท้องน้อย)
ข้อแนะนำ  ผู้เป็นแม่ควรพักผ่อนให้มาก โดยอาจหาเวลานอนตอนกลางวัน ถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้ใกล้ชิด เพราะอาจจะทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดอย่างฉับพลันได้

สัปดาห์ที่ 37-40
ลูก        มีน้ำหนักเกิน 2,500 กรัม ครบกำหนดคลอด ผิวจะมีสีชมพู และร้องทันทีเมื่อคลอดพร้อมทั้งลืมตาและยกขาปัดไปมาได้
แม่       หากคุณแม่เริ่มมีอาการปวดเกร็งหน้าท้อง (มดลูก) หรือปวดคล้ายๆ ตอนมีประจำเดือน แต่มีความปวดที่รุนแรงมากกว่า เกิดขึ้นบ่อยๆ ติดกันเป็นชั่วโมงๆ ควรรีบไปโรงพยาบาล
ข้อแนะนำ  ควรจัดของใช้ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่และเด็ก รวมทั้งบัตรโรงพยาบาลให้พร้อม

·       ------------------------------------
ขอขอบคุณ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.  2554.  สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วัลลภา  อรรถนิต.  2546. เตรียมตัวเป็นแม่. กรุงเทพฯ: ไพลิน.
สุมิตรา  ยิ่งเจริญ.  2546.  คู่มือคุณแม่ รอบรู้เรื่องครรภ์ก่อนคลอด.  กรุงเทพฯ: ไพลิน.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์. บทความรวมวิทยาศาสตร์–สุขภาพ. เดลินิวส์ เมษายน 2555.  หน้า 4 . http://www.neutron.rmutphysics.com
รูปภาพประกอบจาก http://www.thaigoodview.com/node/42187

รูปภาพประกอบจาก http://www.iosociety.com