หน้าแรก

เตรียมตัวเป็น "แม่" คน

พัฒนาการของทารกในครรภ์

ระหว่างตั้งครรภ์

การคลอด

หลังคลอดและเรื่องของนมแม่

กุสุมา  แกล้วทนงค์  เรียบเรียง

ระหว่างตั้งครรภ์

พักผ่อนนอน-นั่งในท่าสบาย
เมื่อตั้งครรภ์ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นและท้องก็โตมากๆ ควรปล่อยหน้าที่ภายในบ้านให้เป็นของคนอื่น เช่น สามี เพราะคุณแม่ควรได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
อย่ายกของหนัก
หากยกของหนักขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้ปวดท้องจนแท้งลูกได้ หรือเสียหลังไปเลยก็มี ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงให้ผู้อื่นทำแทน
นอนให้เพียงพอ
ยิ่งครรภ์แก่มากๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพักผ่อนหลับนอนอย่างเพียงพอ ผู้ที่ไม่เคยนอนกลางวัน ต้องหาเวลานอนเสียบ้าง
หลีกเลี่ยงการใช้รถ
ไม่ว่าจะเป็นจักรยาน จักรยานยนต์ หรือรถยนต์ ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ด้วยตนเอง โดยเฉพาะจักรยานและจักรยานยนต์ ส่วนรถยนต์แม้จะขับเองได้ก็ไม่สมควร เพราะจะทำให้เกิดความเครียด กระทบกระเทือนถึงลูกในครรภ์

เหล้า บุหรี่ หนีให้ไกล
เมื่ออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ควรงดสิ่งเหล่านี้โดยเด็ดขาด

ปัสสาวะบ่อย
ระยะตั้งครรภ์ การปัสสาวะบ่อยเป็นเรื่องปกติ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมดลูกโตขึ้นจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
คำนึงเรื่องอาหาร
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และช่วยเสริมสร้างพลังงานให้แก่คุณแม่และลูกในครรภ์

มึนงง เป็นลม หน้ามืด
       การมึนงง เป็นลม หน้ามืด มักเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขึ้นมา ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัว ความดันโลหิตลดลง เกิดอาการหน้ามืด ตามัว และเป็นลมได้
       ควรยืนสลับขาไปมา เพื่อให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น หายใจลึกๆ เร็วๆ สักพักก็จะสบายขึ้น เมื่อตั้งครรภ์ได้ 15 สัปดาห์ ร่างกายจะปรับสภาพให้เข้าที่ได้เอง
อาบน้ำชำระร่างกาย
ระหว่างตั้งครรภ์ การอาบน้ำควรจะทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจจะทำให้ลื่นล้มหกง่าย อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้ง ฉะนั้นห้องน้ำควรล้างให้สะอาด ไม่มีตะไคร่จับ
ปวดหลัง
ขณะตั้งครรภ์ การนั่งในท่าไม่ถูกสุขลักษณะจะทำให้ปวดหลังมาก จนต้องให้คนใกล้ชิด เช่น สามี คอยบีบนวดอยู่ตลอดเวลา ข้อห้ามอีกประการ คือ ไม่จำเป็นอย่าใสรองเท้าส้นสูง จำให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น
เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
ตามหลักการแพทย์มิได้ห้ามแต่อย่างใด ยังปฏิบัติได้ตามปกติ แต่ต้องเลือกท่าให้เหมาะสม เช่น ท่าช้อนส้อม ท่าหญิงอยู่ด้านบน ท่าชายขอบเตียง ท่ากึ่งนั่ง-กึ่งยืน เป็นต้น ทั้งนี้ควรยกเว้นช่วง 1 เดือนก่อนคลอด เพราะจะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
ท่าบริหารระหว่างตั้งครรภ์
การบริหารร่างกายระหว่างตั้งครรภ์นั้น มีความจำเป็นเหมือนกัน หากทำสม่ำเสมอจะไม่ทำให้มีอาการปวดหลังปวดท้อง และมีผลทำให้การคลอดง่ายขึ้น เช่น
       -          ท่านั่ง ดึงเข่าขึ้นลง
       -          ท่านอนหงาย เหยียดและงอเข่าไปมา
       -          ท่าสะพานโค้งแบบคว่ำ ดันตัวเองให้ขึ้นไปเต็มที่ แล้วลงมาท่าปกติ
       -          ตะแคงซ้ายขวาสลับเข่าไปมา
       -          นอนหงายนวดท้อง นวดหน้าอก นวดมือ นวดขาอ่อน


------------------------------------
ขอขอบคุณ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.  2554.  สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วัลลภา  อรรถนิต.  2546. เตรียมตัวเป็นแม่. กรุงเทพฯ: ไพลิน.
สุมิตรา  ยิ่งเจริญ.  2546.  คู่มือคุณแม่ รอบรู้เรื่องครรภ์ก่อนคลอด.  กรุงเทพฯ: ไพลิน.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์. บทความรวมวิทยาศาสตร์–สุขภาพ. เดลินิวส์ เมษายน 2555.  หน้า 4 . http://www.neutron.rmutphysics.com
รูปภาพจาก http://www.momypedia.com/momy-article-3-4-404

รูปภาพจาก http://www.baby2talk.com
รูปภาพจาก http://supattra544991130.blogspot.com
รูปภาพจาก http://www.healthlabclinic.com