USA is Beauty
ตอน ศูนย์วิจัยการเกษตร คาร์ล เอฟ เรนบอร์ค 4
วันที่ 12 ตุลาคม 2553 หน้า 1 2 3 4 3 4 5 6 7 8 9 10 11
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) ออกมาอีกหน่อย เป็นแปลงทดลองกลางแจ้ง ที่นี่เป็นกะบะหมักปุ๋ยคอก กลิ่นค่อนข้างแรง ปุ๋ยนี้ได้จากอุจาระสัตว์ที่เลี้ยงอยู่ที่นี่ แล้วผสมกับพืชพรรณที่ปลูกที่นี่ ใช้ไส้เดือนพันธ์อียิปต์ ซึ่จะไชขึ้นลงแนวดิ่งอย่างทั่วถึง ไม่ได้ไชซ้ายขวาแนวราบเหมือนบ้านเรา เราดูพร้อมสลับการบรรยาย เนิบๆ (2) คุณจอร์จี้กลัวเราฟังไม่เข้าใจ ก็ฟังง่ายดี แต่ฃ้าไปนิด คุณอ๋อ ทำท่าดีใจ เมื่อเจอแปลงปลูกทับทิม (3) ลูกสวยๆ สวยมาก ขอถ่ายเป็นที่ระลึกหน่อย คุณจอร์จี้ตะโกนออกมาทันได (ตาไวจริง) "ห้ามเด็ด!" อุ๊ย!... เดือบไปอีกแล้ว ทำไมเธอรู้ทันนะ ผมมั่งๆ (4) สีสวย ลูกโตดี (5-8) เขาใช้สกัดสารต่านอนุมูลอิสระได้หลายชนิดจากรงคชาติสีแดง ใกล้ๆ นี้มี ไซตรัส (9-10) ลูกประมาณกำมือ เป็นผลไม้พวกมะนาว ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอ-ฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระสำคัญอีกอย่าง ดูสิครับ เห็นแม่ไก่เลี้ยงลูกใต้ต้นทับทิมไหมครับ (11) เขาเลี้ยงไว้ให้ไก่ มีหน้าที่ให้ปุ๋ยโดยเฉพาะ เพราะที่นี่ทำฟาร์มชีวภาพจึงไม่ใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ
ถัดมาเป็นพืชพวกมิ้นต์ กระมัง (12) นี่ไม่แน่ใจเพราะไม่ได้ถาม เพียงแต่ใบคล้าย ดอกสวยๆ เลยได้ภาพมา โรสแมรี่ตรงนี้ต้นโต (13) เราหยุดรอถ่ายรูปกันนิดหนึ่ง รอบางคนที่ช้า ผมเอ่ยปากขออภัยกับคุณจอร์จี้ เธอก็บอกว่า ยินดีมากกว่า เวลาช้าเพราะถ่ายรูปแสดงว่าสนใจ มาตั้งไกลไม่ถ่ายรูปก็เสียเที่ยว เก็บเยอะๆ ชอบ กลายเป็นงั้นไป ที่นี่ไร่ และศูนย์วิจัยกว้าง มีการใช้รถด้วย (17) แต่เครื่องเงียบมาก คุณจอร์จี้บอกว่า เป็นรถใช้ไฟฟ้า เหมือนรถกอล์ฟ ในสนามกอล์ฟ แต่คันโตกว่า รองรับน้ำหนักมากกว่า เพราะบางทีใช้บรรทุกคน และพืชพรรณจากไร่ด้วย
(18) (19) (20) (21) (22) (23) (24) (25) (26) (27) (28)
ที่นี่ เลี้ยงสัตว์ด้วย เป็นฟาร์มตัวอย่างที่ใช้สัตว์เพียงเพื่อต้องการปุ๋ยจากอุจาระสัตว์ (18-28) จำลองการทำงานของฟาร์ม ที่อูบาจารา เซียรา ประเทศบราซิล ซึ่งมีปศุสัตว์ถึง 300 กว่าตัว เพื่อให้ปุ๋ยโดยเฉพาะสำหรับการเพาะปลูกโดยเฉพาะ เช่นที่เห็นมีลา กับแพะ พวกนี้กินเก่ง และให้ปุ๋ยชั้นดี มากมาย เขาให้เราป้อนอัลฟาฟ่าได้ด่วย เฉพาะลา เพราะแพะมีอาหารเฉพาะของเขาไม่รู้อะไร จะเห็นว่า มีสุนัขเลี้ยงแพะด้วย (เคยเห็นแต่สุนัขเลี้ยงแกะ) ก็ให้มันทำหน้าที่แบบเดียวกัน แต่มันก็เชื่องสำหรับคน อยู่รวมกับแพะได้ราวกับมันเป็นแพะเสียเอง เวลาเราให้อาหารเม็ด มันก็ขอด้วย แต่เวลาทำหน้าที่ มันจะดุขึ้นมาทันทีเวลาต้อนแพะ ว่างั้น
(29) (30) (31) (32) (33) (34) (35) (36) (37) (38) (39) (40)
หันมาดูดอกไม้ใบหญ้ากันนะ ดอกนี้ (29) น่าจะปลูกเป็นไม่ประดับ เป็นไม้ยืนต้นสูงๆ ตรงนี้ก็คงเป็นมิ้นต์พันธุ์หนึ่ง (30-31) ใช้มากในการปรับปรุงกลิ่นของเม็ดผลิตภัณธ์เสริมอาหารและมีสารสำคัญในการดูแลสุขภาพหลายชนิด และนี่เป็น ถั่วยืนต้น ชนิดหนึ่ง (32-33) จำชื่อไม่ได้ ดอกคล้ายกับกระถินณรงค์บ้านเรา ซึ่งก็เป็นถั่วเหมือนกัน แต่ไม่มีฝักถั่วอย่างนี้ เห็นคุณจอร์จี้ชี้ว่าเราเลี้ยงผึ้งด้วย จริงหรือเปล่าไม่รู้ มันน่าจะมาทำรังเอง (37) มองเห็นมั้ย เป็นผึ้งรังเล็กๆ นอกจากนี้ยังมีพืชทะเลทรายอีกหลายอย่าง (38-40) ที่เพาะปลูกเพื่อหาสารที่ทำให้พืชเหล่านี้กักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ดี และหลายสารที่พบ ก็อยู่ในผลิตภัณฑ์อาร์ทิสทรีแล้ว พวกผลิตภัณฑ์ทีใช้กลางวัน เพื่อให้ผิวหน้าชุ่มชื้นทั้งวัน
ทางลัด เลือกคลิกหน้า ได้ตรงนี้ครับ| 8 ตุลาคม 2553 ลัดฟ้าสู่เอมริกา |
| 9 ตุลาคม 2553 ยินดีต้อนรับสู่อเมริกา - ไทยทาวน์ - ชมเมืองฮอลีวูด 1 2 |
| 10 ตุลาคม 2553 ดอกไม้หน้าโรงแรมคริสตัลคาสิโน ตอน 1 - โรงถ่ายภาพยนตร์ยูนิเวอร์แซล สตูติโอ ฮอลีวูด 1 2 3 4 |
| 11 ตุลาคม 2553 ชมเรือควีนส์แมรี่ หาดลองบีช - ดิสนี่ย์แลนด์ 1 2 3 4 5 |
| 12 ตุลาคม 2553 ชมพิพิธภัณฑ์ คาร์ล เอฟ เรนบอร์ก 1 2 3 - ศูนย์วิจัยการเกษตร คาร์ล เอฟ เรนบอร์ค 1 2 3 4 -
ฟาร์ม เลควิว - ศูนย์สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด 1 2 3 - โรงงานนิวทริไลท์ 1 2 |
|13 ตุลาคม 2553 ดอกไม้หน้าโรงแรมคริสตั้นคาสิโน ตอน 2, อาหารกลางวันกลางทะเลทราย, เมืองคาวบอย, คาสิโนกลางทะเลทราย|
|14 ตุลาคม 2553 ทะเลทราย, แกรนด์ แคนย่อน, ลาส เวกัส ราตรี | 15 ตุลาคม 2553 รุ่งอรุณ ที่ลาสเวกัส, เมืองกลางทะเลทราย|
|16 ตุลาคม 2553 ท่องซานฟราน ซิสโก, ทวิน พีค, สะพานโกลเด้นเกต, ท่าเรือ39|
|17 ตุลาคม 2553 นั่งรถไฟชมเมือง ซานฟรานซิสโก | 18 ตุลาคม 2553 ชอปปิ้ง แอลเอ |
|19 ตุลาคม 2553 ชอปปิ้งแอลเอ 2 | 20 ตุลาคม 2553 ชอปปิ้งศูนย์บูเอน่าปาร์ค, ชอปปิ้ง เอ้าท์เลท |
|21 ตุลาคม 2553 เดินห้างโรส ชอปปิ้งต่อ, ปาร์ตี้ชานเมือง| 22 ตุลาคม 2553 นิทรรศการ นิวทริไลท์ โมบาย, เล่นดนตรีย้อนยุค|
|23 ตุลาคม 2553 ตลาดนัดอเมริกัน เดินทางไปสนามบิน| 24-25 ตุลาคม 2553 แวะพักต่อเครื่องที่ฟิลลิปินส์ ข้ามเส้นวัน กลับถึงไทย|