ออลีฝั
หน้า 11 ทัศนศึกษาสวนสัตว์ทารองก้า, ออกภาคสนามอันยาวนาน


ทัศนศึกษาสวนสัตว์ทารองก้า
      วันที่ 16 มิย.2539 ไปดูสวนสัตว์ในซิดนี่ย์ โดยคุณโจเอลทำหน้าที่เป็นไกด์ ขึ้นรถเมย์มาลงเรือในอ่าวตรงข้ามแมนลี่ 2 
ลงเรือข้ามฟากเห็นเมืองซิดนี่ย์เป็นฉากหลัง
      และเข้าสวนสัตว์โดยกระเช้าลอยฟ้า แล้วเดินดูสัตว์พื้นเมืองในออสเตรเลียอย่างเช่น วอลาบี้ คล้ายจิงโจ้ แต่ตัวเล็กว่า ตุ่นปากเป็ด หมีคาโอล่า มีวิวถ่ายรูปบนยอดเขา ใหม่มองเห็นอ่าวดาร์ลิ่งฮาเบอร์
สัญลักษณ์ของสวนสัตว์ที่นี่คือตุ่นปากเป็ด น่ารักมาก
        สัตว์ที่นี่ แปลกๆ บางอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น เพนกวินแคระ ตุ่นปากเป็ด วอราบี้ หรือจิงโจ้พันธุ์เล็ก มักอยู่ในมุมมืด และห้ามถ่ายรูปโดยใช้แฟลช อันที่จริงผมพยายามถ่ายแบบไม่ใช้แฟลชเหมือนกัน แต่กล้องคงหนาว ไม่ยอมโฟกัสให้เบรอไปหมด

       ไปกินข้าวกลางวันที่ร้านอาหารในสวนสัตว์ ตอนแรกว่าจะกินเบอร์เกอร์ กับโค๊ก กัน แต่คิวยาวมาก เลยมากินที่ร้านใกล้นั้นแทน เป็นอาคารที่มีระเบียงยื่นออกมาข้างเชิงเขา เราได้เงินค่าเที่ยววันนี้หัวละ 20 A$ เป็นค่าอาหาร 10$ ต้องมีใบเสร็จไปเบิก โจเอลบอกเลือกกินตามสบาย ไตรรงค์กินปลาแซลมอนข้าว สลัด แอปเปิ้ล 14.5$ บางคน (อย่าเอ็ดไป ท่านปลัด) 21.5 $ (ก้อบอกว่า เลือกตามสบาย ไม่รู้งบนี่นา ไม่บอกก่อน หุหุ) โจเอลบ่นอุบเลย อาหารที่นี่แพงจังเลย สงสัยเข้าเนื้อ เกินงบแน่เลย เรามาซื้อของต่อในเมือง แต่ส่วนใหญ่ปิดกันทั้งเมือง ก็เลยกลับมาพักผ่อน เพราะมืดแล้ว และต้องเตรียมออกภาคสนาม 
 
ออกภาคสนามอันยาวนาน
       17 มิย.39 เริ่มออกภาคสนาม เป็นวันที่ตื่นเต้นมาก ที่จะได้เห็นออสเตรเลีย ตื่นแต่เช้า มาครบก่อน 10 นาที เพราะอาจารย์โดโด้ สั่งนักหนาว่าห้ามเลท นาทีเดียวก็ไม่ได้ แต่ก็ออกช้าอยู่ดี เพราะต้องเอารถพ่วงไปเก็บ เนื่องจากไม่ต้องใช้ เราขนของมากันเพียงกระเป๋าใบเล็กๆ ดูเหมือนของผมโตกว่าเพื่อน เอาเสื้อกันหนาวมาเยอะ กลัวหนาวน่ะ ใส่ในรถแล้วยังมีที่ว่าง จะได้ใช้ความเร็วได้ดี ปลอดภัยด้วย กว่าจะรอให้ รปภ.มาเปิดประตูลานจอดรถก็เกือบครึ่งชั่วโมง อ้อ! รปภ.ที่นี่ดูยิ่งใหญ่มาก ด๊อกเตอร์ต้องเคารพยำเกรง ถ้าบอกว่า ไม่ ก็คือ ไม่ ขัดไม่ได้ สั่งข้าราชการ (เจ้าหน้าที่ทั้งหลาย) ได้ เพื่อความปลอดภัย แต่งตัวเนี๊ยบ และ ขับรถเก๋งใหม่เอี่ยมเสมอ ยังกะตำรวจในหนังเลย

       จากนั้น ก็นั่งฟังการบรรยายในรถ รถที่ใช้เป็นมินิบัส คล้าย ปอ.พ. ในกรุงเทพฯ บ้านเรา นั่งสบายๆ มีอาจารย์บรรยาย 1 ท่าน ชื่อ ดร.จอห์น เพคการ์ด ท่านชอบแต่งตัว เซอๆ ผู้ช่วยอาจารย์สาวสวย ชื่อคุณจินนี่ เป็นลูกศิษย์อาจารย์เพคการ์ด คนขับรถชื่อคุณพอล (มาดดีกว่าอาจารย์เยอะ ผูกเน็คไท แต่งตัวสะอาดสะอ้าน และเนี๊ยบเสมอ) ฟังสำเนียงยากมาก พี่ๆ ที่ไปด้วยกันบอกว่า เป็นสำเนียงอเมริกันบ้านนอก ตามสไตน์ออสซี่แท้ เทียบกับประเทศไทยคืออิสานบ้านเฮานั่นแหละ (ขออภัย ด้วยความเคารพ ที่บอกชาวอิสาน เพียงแต่เปรียบเทียบว่าสำเนียงเหน่อๆ และดูเป็นชาวบ้านๆ ทำให้ดูเซอๆ) ว่ากันว่าประวัติที่ชายออสซี่ไม่อยากให้พวกเราเล่าขาน ก็คือ บรรพบุรุษส่วนใหญ่ ก็คือนักโทษหนักจากอังกฤษ ที่ถูกนำมาปล่อยเกาะ ทำงานหนักๆ ในยุคล่าอาณานิคมกระโน้น เลยติดสำเนียง และวัฒนธรรมบางอย่างมา จนก่อตั้งเป็นประเทศได้ แต่ยังถือว่าเป็นของอังกฤษอยู่ ทุกเหรียญของออสเตรเลีย ยังมีพระรูปพระราชินีอังกฤษอยู่ ต่างกับคนอเมริกันที่ส่วนใหญ่ไปเพราะการมือง หรือเป็นนักโทษการเมือง จึงหัวรุนแรงกว่าในยุคนั้น พวกฝรั่ง ยังคิดว่า เขาเป็นชาติพันธ์ที่เจริญแล้ว ฉลาดกว่า และศิวิไลซ์กว่าผิวดำและผิวเหลือง แม้ปัจจุบัน เราคิดว่า และเขาพยายามให้เราคิดว่า เขาไม่มีการเหยียดสีผิว  แต่ความเป็นจริงที่ผมเจอก็คือ เวลานั่งรถเมล์ คนผมทองจะไม่นั่งกับคนผมดำเด็ดขาด ยอมยืน (ทั้งที่เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ หรือที่เราเรียกว่าตาสีตาสานี่แหละ) และนักศึกษาที่มหาลัยนี้ด้วย เมื่อกินข้าวที่ดันมอร์แลง คอเลจ ก็จะไม่ยอมนั่งโต๊ะเดียวกับคนเอเชีย ทั้งๆ ที่ชาวเอเชียที่มาเรียนที่นี่ เป็นกลุ่มคนรวย ทำเงินทำทองให้มหาวิทยาลัย เพราะเสียค่าเทอมและค่าบางอย่างแพงกว่าคนออสซี่ กว่า 2 เท่า

         เอาเถอะ ฟังออกบ้าง ไม่ออกบ้าง แล้วก็ง่วงกันบ่อยๆ อากาศสบาย น่านอนจริงๆ เลยฟังเพื่อนๆ บรีฟให้ฟัง แล้วขอดูเลคเช่อร์จากเพื่อนๆ พอรู้เรื่องบ้าง วันแรกนี้ไป Canbera เมืองหลวงจริงๆ ของออสเตรเลีย ทุกๆ 10.30 น. และ 15.00 น. โดยประมาณ อาจารย์จะให้พักกินน้ำชากาแฟ เรา 13 คน จะหาเรื่องเดินชมเมืองเสมอ แล้วก็มีอันได้เจอคาสิโนเสมอๆ โดยเฉพาะกลางคืน อาจารย์เล่าว่า คนซิดนี่ย์เล่นการพนัน เฉลี่ย 617 A$/คน/ปี (ไม่ได้ถามว่าแล้วเขาได้จากการพนัน เท่าไหร่ต่อปี) ก่อนถึงแคนเบอร่า ผ่านการเช็ครถ รถหนัก 4 ตัน เช็คทุกอย่าง ยาง จนถึงคนขับ ว่ามีอัลกอฮอร์ในเลือดใหม คนขับต้องพร้อมและเช็คมาก่อนเสมอ เข้าท่าดี ไปแวะกินน้ำชา (ไตรรงค์ กินโค๊กแทน) ที่ Goulburn เขาอ่านว่า เก๊าเบอร์น แวะร้านขายของที่ระลึก เขาแต่งร้านเป็นอาคารรูปแกะขนยาว พันธุ์ Marino ซึ่งเป็นพันธ์ผสมของแกะอังกฤษกับพันธ์สเปนขนยาว ออกมาเป็นของออสเตรเลีย 

 
อาคารนี้เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวแวะเข้าไปชมได้ไม่น้อยครับ 
        อาคารนี้สามารถ ปีนขึ้นไปดูชั้นบนได้ มองผ่านลูกตาเป็นจุดชมวิวได้ด้วย ผมก็ปีนขึ้นไปดูวิว ไร่นาแห้งๆ ก็สวยครับ ชั้นล่าง มีของขายส่วนใหญ่เป็นของที่ทำจากขนแกะ แต่ผมไม่ซื้ออะไร แพงมักๆ ผ่านในเมือง มีอนุสาวรีย์วีรชนด้วย (War Memorial) เป็นที่ระรึกถึงคนที่ตายนับแสนในออสเตรเลีย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1-2 ผ่านไปตามทาง มีต้นไม้ยืนต้นตายตั้งแต่ยอดลงมา หรือตายทั้งต้น มากมายตามรายทางไม้ยูคาลิปตัส อาการนี้เรียกว่า DieBlack จากการระบาดของแมลงปีกแข็งพวกหนึ่ง และแย่ลงเรื่อยๆ โดยที่รัฐบาลไม่ได้แก้ไขอะไร เพราะใช้ยาฆ่าแมลงก็แพงเกินไป ก็ปล่อยๆ ไว้ เพราะเห็นว่า ไม่เดือดร้อนใคร เรามาดูงานสิ่งแวดล้อม หลายอย่างเขาก็ไม่เห็นได้แก้ไขอะไร มีปัญหาที่ค้างคาก็เยอะเหมือนกัน แล้วเราก็ได้ไปเยี่ยมคารวะท่านทูตก่อนเข้าเมือง ที่สถานเอกอัคราชทูตไทย เสียดายที่กล้องถ่ายรูปไม่สามารถถ่ายรูปได้ ช่วงนี้
หน้า 1 ก่อนเดินทาง, บนเครื่องบิน
หน้า 2 วันแรกที่ออสเตรเลีย, รู้จักกับอาจารย์
หน้า 3 อาหารมื้อละ 185 บาท ค่ารถเมล์ 70 บาท, เดินชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 4 เริ่มชีวิตนักเรียนนอก, เริ่มเรียนวันแรก
หน้า 5 พาชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 6 ลุยราตรีซิดนี่ย์, เริ่มฟังภาษาอังกฤษออกแล้ว
หน้า 7 ไปดูมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวล
หน้า 8 ดูงานที่มหาวิทยาลัย Western Richmond
หน้า 9 ขับรถท่องนิวเซาท์เวล
หน้า 10 ชมเมืองซิดนี่ย์, เรียนคอมพิวเตอร์, คริสมาสเดือนมิถุนายน, เตรียมตัวออกทริพ
หน้า 11 ทัศนศึกษาสวนสัตว์ทารองก้า, ออกภาคสนามอันยาวนาน
หน้า 12 แคนเบอร่า เมืองหลวง ออสเตรเลีย, สโนวี่ เมาท์เทน 
หน้า 13 เขตแห้งแล้งและเขตชลประทาน
หน้า 14 เยี่ยมชมครอบครัวในเขตกึ่งทะเลทราย
หน้า 15 ต้นไม้พันธ์หายาก, เหมืองเงิน Sunny Coner, Mid Winter Fosrival
หน้า 16 blue moutain
หน้า 17 ซื้อของฝาก ใหม่!
หน้า 18 ทัศนศึกษา Woo-Longgongใหม่!
หน้า 19 เลี้ยงอำลา, นำเสนอผลงานใหม่!
หน้า 20 พิธีมอบประกาศนียบัตร, กลับบ้านที่เมืองไทย ใหม่!
| ออสเตรเลียแดนในฝัน | ประปาไทย.คอม | ไตรรงค์.เน็ต |