ออลีฝั
หน้า 8 ดูงานที่มหาวิทยาลัย Western Richmond

ดูงานที่มหาวิทยาลัย Western Richmond
        6 มิย. เราออกพื้นที่กันแต่เช้า รถมินิบัส คงเช่ามา หลังรับประทานอาหารเช้าที่ดันมอร์แลงคอเลจ ขึ้นเหนือไปทางเฉียงตะวันตก ราวๆ 45 กิโลเมตร ระหว่างทาง หมอกลงจัดมาก สวยดี กระจกเป็นฝ้าจนมองไม่เห็นข้างนอก นึกถึงหนาวๆ ที่เชียงรายก็เป็นแบบนี้ พอลงจากรถ ที่ มหาวิทยาลัย Western Richmond วิทยาเขต Hawkensbery หนาวมาก พื้นหญ้าขาวโพลนด้วยน้ำค้างแข็ง
 
อาคารเรียนที่เห็นไกลๆ ออกแบบอย่างกับบ้านเลย
บรรยากาศที่ดูอบอุ่นอย่างนี้แหละ หนาวมาก


ที่นั่งอ่านหนังสือและผิงแดดกลางแจ้งของนักศึกษาที่นี่ น่ารัดด้วยต้นเมเปิ้ลใบสีเหลืองส้มสวยงาม


กับอาคารเก่าๆ เหมือนบ้านไม้ ที่ยังคงใช้เรียนอยู่


ใบเมเปิ้ลสีเหลืองส้ม เมื่ออากาศเย็นลง และเริ่มทิ้งใบ

ที่นั่งรับประทานอาหารกลางแจ้ง ด้านหลังคือโรงอาหาร ซึ่งเดิมเป็นโรงเลี้ยงม้า ซึ่งย้ายออกไปแล้ว จึงเต็มไปด้วยบรรยากาศมหาวิทยาลัยเกษตร รูปนี้เห็นความน่ารักของผมชัดเจน หุหุ ก็ไม่กี่วันเอง เริ่มกลมบ๊อกแล้วด้วยอาหารฝรั่ง


        เห็นนักศึกษาถ่ายรูปรับปริญญา เราก็ขอไปแจมด้วย และแอบถ่าย เสียดายที่ถ่ายไม่ติด เพราะกล้องไม่ยอมทำงาน มันฟ้องว่าความชื้นสูง ต้องรีบเก็บ ที่นี่ดูบ้านนอกๆ อาคารแบบยุโรปโบราณๆ ดูคลาสสิกดี เป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมมาก่อน เราพักเข้าห้องน้ำ แล้วฟังอาจารย์ที่นั้นบรรยาย 

        จากนั้นไปดูสนามกีฬาโอเล็มปิค 2000 ของซิดนี่ย์ ไปดูการออกแบบกีฬาทางน้ำ เริ่มจากดูที่อาคารโมเดล เป็นอาคารใหญ่ ใช้พื้นที่ขนาดประมาณ 2 สนามวอลเล่ย์บอลล์ต่อกัน ทำเป็นโมเดลพื้นที่โครงการ ที่รวมถึงพื้นที่ของสัตว์ป่าที่ต้องการอนุรักษ์

ตรงที่ผู้บรรยายยืน เป็นโอเดลที่สร้างไว้เพื่อวางแผนการสร้างจริง


อาคารอำนวยการ ที่เราเข้าไปนั่งฟังการบรรยาย มองจากสระกีฬาทางน้ำ


อาคารสังเกตการกีฬาทางน้ำ


อาคารนี้น่าจะใช้ควบคุมและเป็นที่พักกรรมการ


ลู่สำหรับแข่งกีฬาพวกพายเรือ  จะเห็นขอบสระที่มีการปลูกหญ้าสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำปูปลากุ้งหอยที่อาศัยอยู่เดิมด้วย


ลู่ และเรือฝึกแข่ง


นี่เป็นรถบัส ที่เราใช้ทัศนศึกษา

          ที่นี่เคยเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังทั้งปี (Flood Land) บ้านเราเรียกว่า พรุ มีแม่น้ำอ้อมรอบภูเขา พื้นที่ต่ำ  ใช้ทำมาหากิน อะไรก็ลำบาก เลยเอามาทำเป็นสระกีฬาทางน้ำส่วนหนึ่ง แล้วพัฒนาทั้งหมด โดยขุดเอาดินจากที่หนึ่งไปตกแต่งสนามอีกฟาก ได้ดินและได้ทะเลสาบ เขาบรรยายผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความคิดเห็นของประชาชน จนเห็นว่าสมควรทำ เราไปดูพื้นที่จริง ขับรถวนดูรอบๆ โครงการ แล้ววนกลับมาดูบริเวณที่จะใช้แข่งเรือพาย กว้างดี สวย เป็นลู่ตรงๆ ไป 2000 เมตร ที่นี่สร้างเสร็จก่อนแข่งถึง 4 ปี (แข่งปี 2000)

         ผมถามถึงข้างสระที่เห็นมีการปลูกหญ้าพื้นเมืองและยังทำเป็นแอ่งๆ ตรงสันขอบสระเป็นแนวตลอด ผู้บรรยายที่นั่นบอกว่า ทำเป็นที่วางไข่ของปลา และที่อยู่ของกบ หรือสัตว์น้ำตื้น โอ้โหย! ประทับใจ บ้านเราจะนึกถึงอย่างนี้ไหมนะ ตรงนี้ เราหยุดถ่ายรูปสักพักหนึ่ง ดูรอบๆ สระ เห็นผักกาดชนิดกินฝัก ที่มีปลูกทางภาคเหนือของไทย เราเรียกกันว่าผักขี้หูด ขึ้นอยู่ทั่วไปตรงนี้ซะอวบเขียวน่ากิน แต่ที่นี่เขาขอกว่าเป็นพวกหญ้า หรือวัชพืชน่ะ จากนั้นผ่านสนามกีฬากลางโอลิมปิกซิดนี่ย์ 2000 เลยไปดูการกำจัดขยะ โดยวิธีฝันกลบ 
ที่นี่ง่ายต่อการฝังกลบเพราะเป็นที่สูงแบบภูเขาและล่างๆ เป็นหิน ไม่ต้องกลัวการซึมเปื้อนลงดิน

อีกฟากของแหล่งฝังกลบ  


น้ำเสียที่บำบัดแล้วจะถูกคั้นด้วยหญ้า-ผัก และเลี้ยงปลา เพื่อนำไปตรวจของเสียสิ่งตกค้าง

          ทำโดยขุดดินจากภูเขามากองๆ เอาขยะลง กลบด้วยดินที่ขุดมา เป็นเซลๆ ปล่อยน้ำเสียจากการเน่าเปื่อยของขยะ ออกมาข้างล่าง ก็สูบไปบำบัดอีกที ที่นี่มีนกต่างๆ ที่อยู่แถวนี้ตัวโตๆ เยอะมาก เราเพลินกับการถ่ายรูปนก มากกว่า 

         แล้วไปดูการกำจัดน้ำเสีย โดยวิธีเติมอากาศในถังวนเวียน และแบบไม่ใช้ออกซิเจน เมื่อบำบัดแล้ว ก็นำไป ลองเลี้ยงปลา ปลูกพืช และวัชพืชต่างๆ เพื่อเป็นปุ๋ย และทดสอบว่ามีสารอะไรตกค้างอยู่ในพืชทดลองนี้หรือไม่

หน้า 1 ก่อนเดินทาง, บนเครื่องบิน
หน้า 2 วันแรกที่ออสเตรเลีย, รู้จักกับอาจารย์
หน้า 3 อาหารมื้อละ 185 บาท ค่ารถเมล์ 70 บาท, เดินชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 4 เริ่มชีวิตนักเรียนนอก, เริ่มเรียนวันแรก
หน้า 5 พาชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 6 ลุยราตรีซิดนี่ย์, เริ่มฟังภาษาอังกฤษออกแล้ว
หน้า 7 ไปดูมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวล
หน้า 8 ดูงานที่มหาวิทยาลัย Western Richmond
หน้า 9 ขับรถท่องนิวเซาท์เวล
หน้า 10 ชมเมืองซิดนี่ย์, เรียนคอมพิวเตอร์, คริสมาสเดือนมิถุนายน, เตรียมตัวออกทริพ
หน้า 11 ทัศนศึกษาสวนสัตว์ทารองก้า, ออกภาคสนามอันยาวนาน
หน้า 12 แคนเบอร่า เมืองหลวง ออสเตรเลีย, สโนวี่ เมาท์เทน 
หน้า 13 เขตแห้งแล้งและเขตชลประทาน
หน้า 14 เยี่ยมชมครอบครัวในเขตกึ่งทะเลทราย
หน้า 15 ต้นไม้พันธ์หายาก, เหมืองเงิน Sunny Coner, Mid Winter Fosrival
หน้า 16 blue moutain
หน้า 17 ซื้อของฝาก ใหม่!
หน้า 18 ทัศนศึกษา Woo-Longgongใหม่!
หน้า 19 เลี้ยงอำลา, นำเสนอผลงานใหม่!
หน้า 20 พิธีมอบประกาศนียบัตร, กลับบ้านที่เมืองไทย ใหม่!
| ออสเตรเลียแดนในฝัน | ประปาไทย.คอม | ไตรรงค์.เน็ต |