ออลีฝั
หน้า 9 ขับรถท่องนิวเซาท์เวล
ขับรถท่องนิวเซาท์เวล
       วันต่อมา เรียนตามปกติ เกี่ยวกับระบบชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม วันที่สนุกสนานตื่นตาตื่นใจที่สุดเป็นวันเสาร์ที่ 8 มิ.ย.39 วันเสาร์ เราไปหารถเช่ากัน 8 คน เช่ารถตู้ 8 ที่นั่งพอดี เป็นรถตู้หัวแหลมแบบจรวดคล้ายเก๋ง มีคุณหมอสุพจน์อาสาขับ เพราะมีใบขับขี่นานาชาติ มีน้องกาญจนา นักศึกษาปริญญาเอกเป็นไก้ด์ กว่าจะออกได้ ก็เกือบเที่ยง ขับรถดูบ้านเมืองไปเรื่อยๆ เขามีแผนที่ให้ ผ่านเมืองต่างๆ ขึ้นไปทางเหนือ จะมีที่พักรถหน้าหมู่บ้าน หรือหน้าตำบลทุกแห่ง จะมีศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว ติดป้าย i เราเลยแวะขอข้อมูลกัน 

กับป้ายที่แสดงว่าเป็นศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวก่อนเข้าเมือง
พี่ปลัด ขอแอคชั่นบ้าง

บรรยากาศหน้าโรงแรม ฮันเตอร์วาเล่ย์

ฮันเตอร์วาเล่ย์ (หมู่บ้านนายพราน) กระท่อมชาวไร่ที่นี่ใหญ่โตจังนะ ยังกะคฤหาสน์


คณะที่เราไปกัน เมาไวน์กันเล็กน้อยถ้วนหน้า


ข้างในกระท่อม เป็นเคาเตอร์ชิมไวน์ มีสารพัดไวน์รินลงจอกเล็กๆ ให้เราชิมกัน ชิมได้คนละ 5-7 ชนิดก็แยกรสไม่ออกละ

กับหมอสุพจน์ สารถีกิตติมศักดิ์ของพวกเรา 

ด้านในเป็นที่บ่มไวน์ นี่คือถังไวน์องุ่น ตัวถ้งเป็นไม้โอ๊ค

ก็หิ้วกันคนลาขวดสองขวด ชิมแล้วนี่ ชอบด้วย
การตกแค่งหน้าโรงแรม บรรยากาศสบายๆ กับสระและรูปป้ะน่ารักของเทดาเทน้ำจาก คนโท
เราเรียกที่นี่ว่า โต๊ะชิมไวน์ น่าเอาไวน์มาชิม ล้อมวงๆ

หน้าโรงแรม เป็นไร่องุ่นสำหรับทำไวน์ สุดลูกหูลูกตา

ผมเดินออกมาดูไร่องุ่น หน้าโรงแรม

วันที่ไปชม ไร่องุ่นเพิ่งเก็บเกี่ยว และอยู่ในระยะพัก ดูโทรมๆ ไปหน่อย

มีบริการ รถม้า ให้เยี่ยมชมไร่ และบริเวณใกล้ๆ ด้วย แต่ไม่ได้ถามว่าต้องเสียค่าบริการหรือเปล่า

        เราไปชมไร่องุ่นก่อน ที่ Hunter Valley เป็นที่ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียงมาก ได้รับโล่ ถ้วยรางวัล ประกาศนียบัตร ประกาศเกียรติคุณมากมาย

        แล้วเราก็ชิมกันคนละ 6-7 ชนิด จนเมากันไปหลายคน ผมไม่ใช่นักชิม ไม่ค่อยรู้จัก แต่ก็ชิมกับเขา อิอิ เขาก็หัวเราะใหญ่เลย มันต้องดมก่อน อมไว้ในปาก สูดลมเข้าไปให้ได้กลิ่น ค่อยบ้วนทิ้ง บ้วนทำไมกัน กลืนดีว่า ก็เลยเมากันถ้วนหน้า เหอๆๆ เขามีที่หมักไวน์อยู่ชั้นบน ที่ชิมไวน์อยู่ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นแบบโรงแรม มีเอกสาร Information หนังสือ และไวน์ชนิดต่างๆ ที่เขาผลิตจำหน่าย รวมทั้งของที่ระรึก เราหิ้วกันมาอย่างน้อยคนละขวด ก็คงคุ้มค่าที่ให้ชิม ราคาอย่างต่ำ 10 A$ (200 บาท) เป็นไวน์แบบดราย คือชนิดแรง (Alcohol ประมาณ 13% ขึ้นไป ได้ยินว่า บางรุ่นแรงถึงกว่า 40 ดีดรี โหว แรงกว่าเหล้าขาวบ้านเราอีก) และเก่า ซึ่งราคาแพง เป็นหลายๆ หมื่นบาท แต่ซื้อที่นี่นับว่าถูก 

          แล้วไปถ่ายรูปสวนองุ่นนิดหน่อย ได้วิวมากกว่า วิวสวย แต่องุ่นที่นี่ใบร่วงเกือบหมดแล้ว ตามฤดูกาล 
 


หมอสุพจน์ อยากถ่ายกับคลื่นที่กระทบหาด แต่มันมืดมาก ได้เห็นแค่นี้


ที่เมืองนิวคาสเซิ่ล ถ่ายด้วยกล้องคอมพ็ค (กล้องปัญญาอ่อน) แล้วปรับอีกนิด

        ช่วงเย็นเราไปที่หาดหินนิวคาสเซิล ที่นี่ลมแรงพัดน้ำทะเลมาโดนโขดหินที่มีรูก็พุ่งขึ้นคล้ายน้ำพุ เสียดาย ที่มาถึงก็มืดแล้ว ถ่ายรูปมาให้ชมกันไม่ได้ เพราะมืดมาก ที่พอให้ดูได้คือเมืองริมทะเล แต่ก็ต้องใช้แฟลช ได้มารูปเดียวก็หมอสุพจน์นี่แหละ 


มองจากหลังรถ คิงครอสยังคึกคัก

ป้ายบอกทาง ที่บอกระยะห่างจากบ้าน

สะพานข้ามอ่าวดาร์ลิ่ง ยามราตรีกับไฟข้างทาง นับเป็นจุดที่นักที่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

         ดึกๆ กว่าจะกลับมาถึงซิดนี่ย์ แวะไปกินข้าวร้นผัดไท อีกที ในคิงส์ครอส กินอาหารไทย แล้วแชร์กันออก แล้วเดินดูตามถนนคิงครอส ย่านบันเทิงแห่งเดียวในซิดนี่ย์กลางคืน แต่ไม่ได้แวะดูร้านอะไร เพราะมีเพื่อนๆ ผู้หญิงมาหลายคน ไม่ยอมเข้าดู ที่นี่มีป้ายบอกระยะทางไปบางกอกด้วย 7,537 กิโลเมตร โฮ่ๆๆ ไม่เคยมาไกลขนาดนี้เลย 


ซิดนี่ย์ทาวเวอร์ กับแสงสีกลางคืน


แสงสีราตรีซิดนี่ย์ ดาร์ลิ่งฮาร์เบอร์

โอเปร่าเฮาส์ ยามราตรี

         แสงสีกลางคืนที่นี่สวยงาม จนอยากเก็บมาฝาก เนื่องจากเป็นกล้องฟีล์มออโต้ฯ เลยถ่ายยากหน่อย แต่ก็สวยทีเดียว (พี่คับๆ เรากำลังพูดถึงสมัย พ.ศ.2539 ทั้งคณะ ยังไม่มีกล้องดิจิตอล ขออภัยอย่างแรงๆ)

หน้า 1 ก่อนเดินทาง, บนเครื่องบิน
หน้า 2 วันแรกที่ออสเตรเลีย, รู้จักกับอาจารย์
หน้า 3 อาหารมื้อละ 185 บาท ค่ารถเมล์ 70 บาท, เดินชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 4 เริ่มชีวิตนักเรียนนอก, เริ่มเรียนวันแรก
หน้า 5 พาชมเมืองซิดนี่ย์
หน้า 6 ลุยราตรีซิดนี่ย์, เริ่มฟังภาษาอังกฤษออกแล้ว
หน้า 7 ไปดูมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวล
หน้า 8 ดูงานที่มหาวิทยาลัย Western Richmond
หน้า 9 ขับรถท่องนิวเซาท์เวล
หน้า 10 ชมเมืองซิดนี่ย์, เรียนคอมพิวเตอร์, คริสมาสเดือนมิถุนายน, เตรียมตัวออกทริพ
หน้า 11 ทัศนศึกษาสวนสัตว์ทารองก้า, ออกภาคสนามอันยาวนาน
หน้า 12 แคนเบอร่า เมืองหลวง ออสเตรเลีย, สโนวี่ เมาท์เทน 
หน้า 13 เขตแห้งแล้งและเขตชลประทาน
หน้า 14 เยี่ยมชมครอบครัวในเขตกึ่งทะเลทราย
หน้า 15 ต้นไม้พันธ์หายาก, เหมืองเงิน Sunny Coner, Mid Winter Fosrival
หน้า 16 blue moutain
หน้า 17 ซื้อของฝาก ใหม่!
หน้า 18 ทัศนศึกษา Woo-Longgongใหม่!
หน้า 19 เลี้ยงอำลา, นำเสนอผลงานใหม่!
หน้า 20 พิธีมอบประกาศนียบัตร, กลับบ้านที่เมืองไทย ใหม่!
| ออสเตรเลียแดนในฝัน | ประปาไทย.คอม | ไตรรงค์.เน็ต |