4 ธันวาคม 2547 ตอนที่ 1/2 |
วันนี้เป็นวันเที่ยวเมือง ตื่นมามันยังมืด ปรากฏว่า ฝนตก ตรงตามพยากรณ์อากาศเด๊ะเลย ตกทั้งวัน ไม่แน่ใจว่าไกด์เป็นคนจากคอยก้ารึเปล่า เพราะผู้ประสานงานไจก้านี่เปลี่ยนแทบทุกวัน จนจำไม่ได้ ไกด์ให้ยืมร่มจากโรงแรมไปด้วย ลำบากในการถ่ายรูปมาก ต้องคอยระวังไม่ให้ฝนโดนกล้อง เดี๋ยวเสีย ไปรถคันนี้ (รูปที่ 1) กว้างเหมือนรถเมย์ ปอ.บ้านเรายาวๆ แห่งแรกที่ไปชมเป็นพระราชวัง ของกษัตริย์องค์สุดท้าย ทางเข้ากว้างใหญ่มาก (รูปที่ 2) ดูตามแผนที่ (รูปที่ 3) คงต้องเดินกันเมื่อย เราจะต้องตามไกด์เท่านั้น ห้ามออกนอกเส้นทาง และฝนก็ตกพรำๆ ได้บรรยากาศดี (รูปที่ 4) เราซื้อทัวร์แล้ว ยังไงก็ต้องมา ไกด์บอก ทั้งหนาวทั้งเปียก และนี่ เป็นประคูทางเข้าวัง อลังการดี เดินเข้ามาอีกนิดเป็นประตูชั้นใน ลวดลายสถาปัตย์หลังคาสวยมาก เป็นการทาสีใหม่ที่ดูจัดจ้านดี แต่เขาบอกว่าเป็นสีที่เป็นไปตามสีเดิม
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)
จากตรงนี้มองเห็นตำหนัก (รูปที่ 7) ต่อจากตรงนี้เข้าไป พื้นปูด้วยหินแกรนิต (รูปที่ 8) ตัวอาคารเป็นไม้ใหญ่ๆ เน้นประดับด้วยไม้ เขียนลวดลายสี และทองคำ ไม่มีอัญมณี หรือแก้วเหมือนบ้านเรา นี่เป็นอาคารหลัก ใช้เป็นท้องพระโรง มาดูว่าสวยขนาดไหน รอบๆ เป็นระเบียงแกะสลักด้วยหินแกรนิต (รูปที่ 9) ส่วนหลังคาก็แข็งแรง (รูปที่ 10) และดูจะมีน้ำหนักมาก แต่ก็ดูอ่อนช้อยด้วยลายเขียนสีสวยงาม ห่อหุ้มด้วยตาขายกันนกหนูไปทำรังหรือทำเลอะเทอะ ทางขึ้น เป็นส่วนที่ห้ามเหยียบ ต้องอ้อม (รูปที่ 11) เป็นตราประจำพระองค์ และประจำตระกูล และนี่เป็นข้างในที่ห้ามเข้าเช่นกัน ดูได้จากหน้าต่าง (รูปที่ 12) เป็นพระราชบัลลังค์ที่ใช้ว่าราชการ มีการคงบรรยากาศ ท้องพระโรงอยู่ ดูขลังมาก ลวดลายการแกะสลักไม้ ลายทอง ลวดลายเขียนสี สวยมาก
ภายในมีเขตต้องห้ามด้วย และยังห้ามเข้าอยู่ ดูได้แต่นอกอาคาร เป็นของพระราชินี ซึ่งมีหน้าที่เลี้ยงลูก (พระโอรส) ปกติก็จะไม่ได้เสด็จไปข้างนอกด้วย (รูปที่ 13-15) ข้างในอีก เป็นศาลาทรงงาน และอาคารพักผ่อน ที่ใช้ทรงงานด้วย (รูปที่ 116-18) มีสระน้ำสวยงาม ปลูกต้นไม้โดยรอบ สระน้ำสี่เหลี่ยมนี่หมายถึงจักรวาล มีสระตรงกลางรูปวงกลม(เกาะจันทรา) ซึ่งหมายถึงกษัตริย์
ต่อมาก็จะเป็นที่พักพระราชินี (รูปที่ 19-20) สังเกตได้จาก จำนวนลิงบนตัวหลังคา และที่พักกษัตริย์ (รูปที่ 21) สังเกตว่า จะไม่มี ลายมังกรบนหลังคา เพราะกษัตริย์ เป็นมังกรอยู่แล้ว ตัวหนังสือเป็นอักษรจีน เนื่องจากอักษรเกาลีที่เราเห็นปัจจุบัน เพิ่งประดิษฐ์มาประมาณ 80 ปีมานี้เอง ข้อมูลทั้งปวง ได้จากคำอธิบายของไกด์ของเรา (รูปที่ 22)