5 ธันวาคม 2547 หน้า 1  2 3

หนาวครับ ปวดปัสสาวะกันมาก (ขออภัย เรื่องจริง) ไม่มีเหลื่อ ทุก 1-2 ชั่วโมง ก็พยายามหาห้องน้ำ ได้เคเอฟซี 2 ร้าน ช่วยชีวิต ทำธุระเสร็จก็เดินออกมาหน้าตาเฉย บริกรก็วิ่งออกมาส่ง โค้งสวยๆ ขอบคุณค่า เขินจัง แต่ก็สบายตัวดี ทำเป็นลูกค้าหันไปยิ้มรับ 

(1) (2) (3) (4)

ไม่ค่อยเห็นทางม้าลายหรือสะพานลอย แยกหลายที่เป็นสับเวย์ หรือทางข้ามใต้ดิน(รูปที่ 1) ทำให้รถราคล่อง เรานั่งรถต่อมา มีสถาปัตยกรรมหลายแห่งที่เป็นแบบเกาหลีๆ เดิม เช่นโรงแรมแชงกรีล่า (รูปที่ 2-3) ส่วนที่เป็นที่ทานอาหาร สวยดี ตอนแรกคิดว่าเป็นวัดเป็นวัง มีป้อมปราการอยู่กลางถนน(รูปที่ 4) ที่ถ่ายมาให้ดูเพราะชื่อแปลกดี ป้อมนี้ชื่อ วังโสน (Wangsano) ตึกรามทรงยุโรปก็มีก่อนทางเข้าวังเก่า (รูปที่ 5) เรารอมรอบการเข้าชม วังเก่า ชื่อ Chianggyeonggung มีคนขายขนมแบบแป้งปิ้งใส้ครีม ร้อนๆ อร่อยดี นัยว่าเป็นขนมยอดฮิตที่เขาทานกันช่วงเทศกาล(คล้ายงานวัด) ช่วงฤดูหนาว กินแล้วอุ่นดี แล้วมารอที่ร้านขายของที่ระลึกก่อนเข้าชม อุ่นดี ข้างนอกหนาวและยังมีลมพัดเอื่อยๆ เข้าห้องน้ำ หาซื้อของก่อนเข้าชม มีต้นแปะก๊วยด้วย ตอนนี้ใบร่วงหมดแล้ว เหลือแต่ผล (รูปที่ 6)

 (5) (6)  (7) (8)

หมดเราเลือกเวลาที่มีไกด์บรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อให้เข้าใจง่าย เขามีให้เลือกหลายภาษา เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ห่างกันประมาณ 30 นาทีต่อกลุ่ม เรารอสัก 40 นาทีก็ได้เข้าไป นับว่ากลุ่มใหญ่ (รูปที่ 7) ประมาณ 25 คน ต้องใช้โทรโข่ง เราฟังการบรรยายสรุปและกฎเกณฑ์การเข้าชมก่อน ดูแปนที่ส่วนที่จะเข้าชม (รูปที่ 8) และส่วนต้องห้าม ห้ามเข้า จากนั้นก็เดินตามไกด์เข้าไปที่นี่สร้างตั้งแต่กษัตริย์พระองค์แรก จึงเหมือนๆ กับบ้านชาวบ้านทั่วไป แต่หลังโตกว่า ตกแต่งสวยงามกว่า หลังที่สร้างต่อมาก็ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น และเป็นส่วนต้องห้าม ห้ามเข้า ถ่ายรูปข้างนอกได้ พื้นเป็นหินแกรนิต ข้างบนเป็นไม้ใหญ่ๆ เขียนสีฉูดฉาด (รูปที่ 9-12) ส่วนที่เป็นของกษัตริย์ ก็ปิดทอง แต่ไม่ค่อยมีการใช้อัญมณี เพราะหายาก ดูยังใหม่ เพราะมีการบูรณะเหมือนทั่วๆ ไป มีการยึด ก็มีการเผา ไหม้ง่ายเพราะเป็นไม้ จนดูไม่ออกว่าตรงไหนเป็นของเก่าของใหม่

 (9) (10) (11) (12)

จากห้องรอเข้าเฝ้า เป็นท้องพระโรง (รูป 13-14) ที่นี่ตกแต่งอย่างประณีต ทั้งลายติดทองและวาดภาพ มีบันลังก์อยู่กลางห้อง มีอาคารทรงงานและที่ทรงพักผ่อนอิริยาบท ห่างออกไป (รูปที่ 15) สำหรับกษัตริย์ทรงงาน และส่วนในของพระมเหสี เป็นประตูเฉพาะ (รูปที่ 16) เข้าไปยังตำหนักพระราชินี (พระมเหสี) สถาปัตยกรรม ประณีต ซับซ้อน (รูปที่17 -18)  ซึ่งจะมีเฟอร์นิเจอร์ให้ความสะดวกสบายและตกแต่งมากขึ้น แต่ก็ยังดูโล่งอยู่

 (13) (14) (15) (16) (17) (18)

เลยวังเป็นสวนต้องห้าม และยังคงต้องห้าม ห้ามเข้าอยู่ (รูปที่ 19) สมัยนั้นคงสวยมาก มาถึงตอนนี้ยังคงสวยงามของใบเมเบิ้ลหลากสี หลังสวนต้องห้าม เดินขึ้นไปบนเขา พบว่ามีอาคารทรงงานส่วนพระองค์ ซึ่งจะไม่อนุญาตให้เข้าชม ยังเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่ ที่นี่จัดสร้างตามหลักฮวงจุ้ย หลังเป็นเขา แสดงถึงความมั่นคงดังขุนเขา ด้านหน้าเป็นสระสี่เหลี่ยม แสดงถึงเศรษฐกิจที่ดีเหมือนสายน้ำไหลมาเทมา ที่เป็นเอกลักษณ์คือเป็นสระสี่เหลี่ยมจัตุรัส หมายถึงจักรวาล (ไม่รู้ทำไมสี่เหลี่ยมหมายถึงจักรวาล) และตรงกลางมีเกาะวงกลม ปลูกไม้มงคลไว้ด้วย  หมายถึงจันทรา ซึ่งก็คือกษัตริย์ตามความเชื่อว่าคือเทพจันทรา (ในขณะที่ญี่ปุ่น กษัตริย์คือสุริยเทพ) เฟ่งซันและจางซันก็ขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึก (รูปที่ 20) ตำหนักทรงงานสมัยนั้นคงสวยมาก (รูปที่ 21-26) แม้จะทรุดโทรมยังคงสวยงาม

(19) (20) (21) (22) (23)

เลยไปด้านหลังขวา เป็นหมู่อาคารทรงศิล (รูปที่ 24) เป็นห้องที่กษัตริย์ มเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์มาทรงศิล คล้ายวัด แต่ไม่มีพระประจำ  และแยกกลุ่มหญิงชายตั้งแต่ประตูทางเข้า การออกแบบอาคาร (รูปที่ 25-26) ถูกต้องตามทิศทางลม ออกแบบการระบายอากาศอย่างดี การปิดกั้นแสงแดดที่มากเกิน ทำให้สดชื่นเย็นสบาย และบางห้องก็ยังมีเฟอร์นิเจอร์อำนวยความสะดวกสวยๆ หลายชิ้น

(24) (25) (26)

(อ่านวันนี้ หน้า 1 หน้า 3)


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!