22 พฤศจิกายน 2547

เจอ 2 หนุ่มมาเลเซียตอนทานอาหารเช้า เลยถามว่าเรารอจน 5 โมงเย็น หาไม่เจอ เขาก็ทำท่าแปลกใจ ว่าทำไมต้องรอด้วย พอดีออกจากยามาดะ ก็กลับมานอน บรรยากาศน่านอน เย็นดี เราก็กลัวโกรธที่ไม่ได้รอ เพราะหาไม่เจอจริงๆ ก่อนเข้าเรียน มีโอกาสคุยกับ ฟิลิปปินส์ทั้ง 2 คน มาเลเซียทั้ง 2 คน กัมพูชา 1 คน และไทย 1 คน คุยกันสนุกสนานมากที่หน้าอาคารเรียนสีแดง ถึงความประทับใจที่ได้มาญี่ปุ่น สาวสวยๆ วิวดีๆ จนอาจารย์มา และถามว่า พวกหนุ่มๆ มาจับกลุ่มทำอะไรแถวนี้ เราก็บอกว่ามารอรับสาวสวยๆ และปล่อยให้อาจารย์ขึ้นไปเตรียมตัวก่อนนะ แทนที่จะไปนั่งรออาจารย์ ก็รออยู่แซวสาวๆ ที่ผ่านเข้ามาอาคารเหมือนวัยรุ่นเลย สาวๆ บอกว่าดีจังเลย ไม่ได้โดยแซวมานานละ อ้าว...

(1) (2) (3) (4)
(คลิก เพื่อดูรูปใหญ่)

วันนี้เรียนเรื่อง "Restoration of fresh water environment by eco-engineering technology" โดยDr. KATO Yoshimori (รูปที่ 1) บรรยาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคืนน้ำสะอาดให้สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เกี่ยวกับการออกแบบระบบบำบัดน้ำ ที่ไม่ถึงกับเป็นน้ำเสีย แต่เป็นน้ำที่ไม่ค่อยสะอาด ให้คืนสู่สิ่งแวดล้อม ใช้พวกอ้อ แขม บัว หญ้าชนิดต่างๆ ดูดซับขึ้นมาดูไม่ซับซ้อน แต่ได้ผลดี จนประมาณ 11.40 ก็ให้รีบไปทานข้าว แล้วมาขึ้นรถ 12.20 น. มีรายการดูงาน 8 แห่ง ไปดูพวกระบบบำบัดน้ำเสีย(รูปที่ 2-4) จากแม่น้ำ ที่ผ่านมาจากหมู่บ้านที่ลงมาทางคูคลอง และลงมาทางทะเลสาบ Kasumigaura Lake ที่สึคูบะนี่เอง ทะเลสาบนี้ชื้อ คาซูมิการ่า รับน้ำส่วนใหญ่จากแม่น้ำ คาซูมิ (รูปที่ 5) ส่วน การ่า แปลว่าแม่น้ำ ที่แรกใช้พืชพวกอ้อ ปลูกเหมือนทุ่ง (รุปที่ 2) ไว้ข้างๆ แม่น้ำที่ไหลผ่าน น้ำส่วนหนึ่งจะถูกผันเข้ามาทางระบบบำบัดน้ำ (รูปที่ 3) ทำด้วยโลหะพวกอะลูมิเนียม เพราะเบาดี และทนทาน เพื่อเติมอากาศและความคุมปริมาณการไหล และผ่านแปลงอ้อ (หรือพวกหญ้าประเภทต่างๆ) ที่ปลูกเป็นล๊อกๆ คั่นด้วยซีเมนต์ 

(5) (6) (7) (8) (9)

ที่ต่อมาตรงข้ามกันเป็นแม่น้ำคาซูมิ ปากแม่น้ำที่รับน้ำสู่ทะเลสาบ ที่ปากแม่น้ำปลูกต้นหญ้าประเภทอ้อ แขม (รูปที่ 6) ใช้สันกั้นน้ำลดระดับ(รูปที่ 7) เพื่อผันน้ำเข้าคลองเล็กๆ  (รูปที่ 8 ) คลองนี้กว้างแค่ประมาณ  1 ฟุต ทำหน้าที่กระจายน้ำเข้าพื้นที่ปลูกหญ้าประเภทอ้อ (รูปที่ 9) น้ำที่ได้ก็วนออกมา เป็นรูปตัวซี กับแม่น้ำ ก็ได้น้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น จะเห็นว่ามีนกเป็ดน้ำ (กระมัง? รูปที่ 6) มาหากินให้ดู เพื่อแสดงว่าน้ำตรงนี้สะอาดขึ้นจริงๆ

(10) (11)

แล้วไปดูหอสูงริมทะเลสาบ(รูป 10) วิ่งไปจากสองจุดแรกราว 30 นาที เป็นหอสูงเห็นแต่ไกล สูงประมาณ ตึก 10 ชั้น โดดเด่น ดูโตโต้-ซัน ลงรถมาก็ โอ้โหวววว... เลย (รูปที่ 11) แล้วเราก็รอเขาติดต่อเพื่อจะได้ขึ้นไปดูวิวข้างบน ผ่านไป 30 นาที โดยประมาณ อาจารย์โยชิโมริ ก็บอกว่า หอปิด ผมก็ถามว่า อ้าว จะมาดูงาน ลงโปรแกรมแล้ว ไม่ได้ประสานงานเหรอ อาจารย์บอกไม่อ่ะ ปกติไม่เคยปิด และต้องขอโทษที่ไม่ได้ดูวิวสวยๆ หอสูงนี้ มีที่ดูวิวสวยดี แต่เราไม่ได้มาดูหน้าที่หอ ซึ่งใช้ตรวจตรา เฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ไม่เป็นไร ให้เวลาดูรอบๆ 2-3 นาที โหย... ดูมาตั้ง 30 นาทีแล้ว ทุกคนเลยขึ้นรถกันหมด

(12) (13) (14) (15) (16) (17)

ต่อมา  ไปดูปากแม่น้ำอีกที่ ผ่านบ้านคนญี่ปุ่น สวยดีแบบนี้ (รูปที่ 12-16) เป็นบ้านเล็กๆ แข็งแรง เพื่อป้องกันหิมะและแผ่นดินไหว ถนนก็เล็กๆ ขับซิ่งมากเลย คนขับของเรา แต่เขาคล่องทาง แถวนี้เป็นพวกชาวไร่ชาวนาฐานะไม่ค่อยดีนัด (แต่ดูบ้านสิ ถ้ารวยจะขนาดไหน) ใกล้มาถึงจุดดูงาน อาจารย์ชี้ให้ดูนาบัว (รูปที่ 17) ซึ่งเริ่มแห้งแล้ว ที่นี่ทำนาบัวเพื่อลดมลภาวะ กำจัดฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำก่อนลงทะเลสาบ ยิ่งมีเยอะยิ่งเติบโตดี และที่เห็นก็ได้เวลาเก็บเกี่ยวรากบัวได้ อาหารสุดโปรดของชาวญี่ปุ่น เราถามว่า ไม่มีสารพิษสะสมหรือ อาจารย์บอกว่า ตรวจพบว่า กระบวนการทำลายสารพิษอยู่ที่รากฝอย และไม่สะสมที่รากบัว (ส่วนไหลบัวที่เอามาทำอาหาร)

(18) (19)(20) (21) (22)

ตรงหัวนาญี่ปุ่นนี่น่ารักไม่แพ้บ้านเรา เขามีศาลเจ้าเล็กๆ คล้ายศาลเพียงตา แต่สูงประมาณ อก ทำด้วยหินสลัก (รูปที่ 18) นาตรงนี้สมบูรณ์ และปลูกข้าวได้ผลดี เพราะเป็นดินปากแม่น้ำ มีปุ๋ยเยอะ ปากแม่น้ำตรงนี้มีการทำขอบซีเมนต์กันการกัดเซาะในฤดูน้ำหลาก (รูปที่ 19) และตรงสันทำคล้ายคลองชลประทานบ้านเรา ใช้เป็นทางรถวิ่งได้ บางที่ก็ราดยางด้วย และที่นี่บำบัดน้ำที่ค่อนข้างเสีย โดยทำเป็นแอ่งเล็กๆ กว้างสัก 10 ไร่ ทางเข้านี่เขาห้ามผ่าน อาจารย์บอกเราห้ามชาวบ้าน ป้ายญี่ปุ่นมักเป็นการ์ตูนน่ารักๆ อย่างนี้ (รูปที่ 20) เข้าใจง่าย และไม่ซีเรียสดี แต่เราเข้ามาได้ เราข้ามรั้วนี้มาดู เป็นเนินหินที่น้ำไหลผ่านได้ตามซอกหิน ทำอ้อมเข้าไปในทะเลสาบเพื่อชลอการไหลของน้ำ (รูปที่ 21) ให้เวลาชีวภาพทำงาน ปลูกไม้พวกอ้อและแขม ลงบนทุ่นลอยให้ลอยไปมาได้ตามแรงลมเป็นการทำให้รากดูดซึมของเสียได้ (รูปที่ 22)

อ่านต่อวันนี้ หน้า 2


[หน้าแรก] ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายน วันที่ 13  14  15  16  17 18  19  20.1  20.2 ปราสาทนิโจ 20.3 21  22.1 22.2 23.1 23.2 24  25.1 25.2  26  27.1 27.2 28
เกาหลี เดือนพฤศจิกายน วันที่
 28 29 30 เดือนธันวาคม วันที่ 1 2.1  2.2 3 4.1 4.2 5.1 5.2 5.3  6 7 8.1  8.2 9.1 9.1  10ใหม่! 11ใหม่!